วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ?

แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ?

รถ ใหม่มักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องระบบปรับอากาศหรือแอร์ เพราะเป็นของใหม่ แกะกล่อง โดยเฉพาะแอร์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่ จะใช้น้ำยา R134a ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่สร้างมลพิษในอากาศ แน่นอน แต่ว่าราคาของน้ำยาแอร์สูงพอสมควร แต่ สำหรับรถรุ่นเก่ามักจะใช้น้ำยาแอร์ รุ่นเก่า ที่เห็นกันตามร้านแอร์ทั่วไปส่วนระบบแต่งๆไม่แตกต่างกัน เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุ บางอย่างโดยเฉพาะน้ำยาแอร์ซึ่งคุณสมบัติดีกว่า

- ส่วนกลิ่นอับซึ่งเกิดขึ้นอาจจะมาจากน้ำ

เกิดจากการกลั่นตัวจากคอยล์เย็น ไม่สามารถจะระบายออกจากถาดรองผ่าน
รูระบายออกไปได้ เวลาเลี้ยวรถแรงๆ น้ำอาจจะล้นกระฉอกออกมาเปียกเท้า และพรมเป็นประจำ จนทำให้เกิดเชื้อราและ
กลิ่นอับชื้น ควรตรวจเช็ครูระบายน้ำของระบบแอร์ ซึ่งก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงแต่ลองสำรวจดูบริเวณหลัง
คอนโซลกลางรถ หรืออาจจะอยู่ด้านหลังของช่องเก็บของบนแผงหน้าปัด ตามแต่ตำแหน่งของตู้แอร์ในรถแต่ละรุ่นจะอยู่ตรงไหน
เพราะจากความชื้นของพรมหากมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดไฟช็อตหรือลัดวงจรได้ หากแอร์ไม่เย็นควรเช็คน้ำยาแอร์ โดยสังเกต
จากช่องกระจกในตัวกรอง และอาจจะมาจากคอยล์เย็นเริ่มตัน เพราะฝุ่นมาเกาะมากเกินไป จึงควรทำการล้างตู้แอร์เพื่อให้
โบลเวอร์ หรือพัดลมกระจายความเย็นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และถอดพรมออกตากแดดให้แห้งสนิทเพื่อไม่มีกลิ่นอับรบกวน

: - เครื่องปรับอากาศมีลมออกมา แต่ไม่มีความเย็น

ระบบปรับอากาศนับว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากสำหรับการใช้รถใช้ถนนในเมืองไทย แต่ขณะที่ขับรถยนต์อยู่เพลินๆ
ลมเย็นๆ ของแอร์เกิดไม่เย็นอย่างที่เคยขึ้นมา โดยมีแต่ลมพัดออกมาแต่ไม่มีความเย็น มีสาเหตุอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ

: - คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน

สาเหตุใหญ่ที่ทำให้คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน ก็คือ ไม่มีกระแสไฟมาทำให้มันทำงาน
การป้องกันและดูแลรักษา คงจะดูแล และป้องกันได้ยาก เพราะไม่มีอะไรเป็นสิ่งบอกเหตุได้ แต่จะสามารถตรวจสอบ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ โดยการสังเกตจากการทดลอง เปิด/ปิดระบบการทำงานของระบบปรับอากาศ หากทำการ
ทดลองแล้วเสียงของเครื่องยนต์ยังปกติ หรือความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไม่มีอาการลด หรือเร่งขึ้น สันนิษฐานได้ในเบื้องต้น
เลยว่าคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานแล้ว แต่หากทำการทดลองแล้วปรากฏว่าเสียง หรือความเร็วรอบของเครื่องยนต์มีการเร่ง
หรือลด เราควรจะมาตรวจปริมาณน้ำยาเครื่องปรับอากาศกันดีกว่า

- ไม่มีน้ำยาทำความเย็นในระบบ ปริมาณน้ำยาเครื่องปรับอากาศ หรือน้ำยาแอร์

เรา สามารถตรวจสอบได้ โดยการมอง ดูที่ตาแมวของตัว Dryer หากน้ำยาแอร์เต็มจะสามารถมองเห็นตัวน้ำยาวิ่งอยู่ หากน้ำยาแอร์ลดลง หรือไม่มีอยู่เลย จะเห็นตัว น้ำยาเป็นฟองอากาศ หรือมีลักษณะว่างๆ ถ้าหากตรวจสอบดูแล้วมีการลดน้อยของน้ำยาแอร์ ก็ควรมาตรวจสอบดูว่า สาเหตุของ
การลดน้อยของน้ำยาแอร์นั้นเกิดจากอะไร ทั้งนี้ผู้ขับขี่สามารถตรวจสอบได้ที่ข้อต่อต่างๆ ของระบบแอร์ ว่ามีรอบหรือคราบของ
น้ำยาแอร์เยิ้มออกมาหรือไม่ หากพบควรนำรถเข้าหาช่างผู้ชำนาญเพื่อทำการแก้ไขต่อไป

เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ

เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ
-----อุบัติเหตุ ทางถนนส่วนใหญ่ เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ จากผู้ขับขี่ที่มีความพร้อมทางร่างกาย ช่างสังเกตและวางแผนล่วงหน้า ฝึกฝนทักษะและอุปนิสัยในการขับรถเพื่อป้องกันอุบัติ

-----ก่อนขึ้นนั่งหลังพวงมาลัย ร่างกายและจิตใจต้องพร้อม
------ ตรวจร่างกายและสายตาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้รู้ความบกพร่องจองตัวเองก่อนที่จะสายเกินไป
------ ความเหนื่อยล้า ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล และความโกรธ ทำให้สมรรถนะในการขับขี่ของคุณลดลง การตัดสินใจจะเชื่องช้า หรือขาดความรอบคอบ
------ แอลกอฮอล์และของมึนเมา มีผลกระทบต่อการขับรถและการตัดสินใจมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เสพ ถ้าเสพในระดับหนึ่ง จะทำให้เกิดความคึกคะนอง ก้าวร้าว ตัดสินใจเร็ว จะนำไปสู่ความประมาทและผิดพลาดได้ แต่ถ้าเสพมากถึงอีกระดับหนึ่ง จะทำให้ประสาทสั่งการช้าหรืออาจถึงหลับใน และถ้าเสพมากจนเกินขนาด อาจทำให้ร่างกายไม่ปฏิบัติตามที่สมองสั่งการ
------ คาดเข็มขัดนิรภัยก่อนสตาร์ทรถ และตลอดเวลาที่ขับขี่ และอย่าลืมเตือนผู้โดยสารให้คาดด้วย
------ มีน้ำใจและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

-----การขับรถให้นุ่มนวล และปลอดภัย
------ อ่านสิ่งต่าง ๆ บนถนนอย่างละเอียด
------ สังเกตสิ่งต่างๆ บนถนนให้ถี่ถ้วน แล้วคุณจะคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าอะไรจะเกิดขึ้น สภาพการจราจรข้างหน้าจะผันแปรไปอย่างไร
------ ควรกวาดสายตาไปทั่วๆ มองใกล้ มองไกล และจากฟากหนึ่งไปอีกฟากหนึ่งของถนน แล้วมองกระจกส่องหลังสลับกันไปด้วย อย่ามองจับนิ่งอยู่จุดใดจุดเดียวนานๆ
------ คันเร่ง ตัวบงการความเร็ว ช้าหรือนุ่มนวล ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ขับ
------ เหยียบคันเร่งเบาๆ ค่อยๆ เร่งความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างมีจังหวะจะโคน จะทำให้ขับรถได้นุ่มนวล มีความปลอดภัยสูง สามารถควบคุมรถได้ดี และยังประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย
------ ใส่รองเท้าที่สะดวกต่อการขับขี่ ไม่ควรสวมรองเท้าส้นหนามากๆ หรือมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้ไม่รู้น้ำหนักที่เหยียบคันเร่ง
------ จับและหมุนพวงมาลัยให้ถูกต้อง
------ รถนั่งไม่เกิน 7 คน รถปิ๊กอัพ รถตู้ และรถขนาดเล็กทั่วไป จับตรงตำแหน่งนาฬิกาที่ 10 โมงเช้า-บ่าย 2 โมงเย็น
------ รถใหญ่ รถน้ำมัน รถบรรทุก และรถโดยสารขนาดใหญ่ ควรจับในตำแหน่ง 9 โมงเช้า-บ่าย 3 โมงเย็น
------ หมุนพวงมาลัยแบบดึงและดัน เวลาหมุนพวงมาลัยมือหนึ่งดึงอีกข้างหนึ่ง ดันสลับกันดึงและดัน โดยไม่ข้ามตำแหน่ง 12 นาฬิกาและ 18 นาฬิกา (หกโมงเย็น) ขณะหมุนต้องให้พวงมาลัยรูดผ่านมือตลอดเวลา ไม่ใช้วิธียกจับ การหมุนพวงมาลัยแบบนี้ จะทำให้การควบคุมรถ เลี้ยวรถแน่นอน นุ่มนวล และถูกต้อง เทคนิคนี้สามารถแก้ไขฉุกเฉินที่เกิดขึ้นให้เข้าสู่สภาวะที่ปลอดภัยได้เป็น อย่างดี
------ ถอยหลัง อย่าประมาท ดูให้รอบคอบ
------ อย่าใช้และเชื่อกระจกมองหลังมองข้างเพียงอย่างเดียว ใช้ตาช่วยหันมองด้านข้าง เพื่อดูมุมอับและจุดบอดต่างๆ ก่อนทุกครั้ง
"ที่มา สาระน่ารู้ของกรมการขนส่งทางบก"

จอดรถให้ปลอดภัย

จอดรถให้ปลอดภัย
------------------------------เรื่อง วิธีการจอดรถโดยทั่วไปมีหลักปฏิบัติที่ไม่ยุ่งยากอะไรมากนัก หากเป็นการจอดรถบนพื้นที่ราบเสมอกัน การจอดตามแบบที่บอกมาก็ถือว่าถูกต้องและเหมาะสมเพียงพอแล้ว เพิ่มเติมเพียงแค่ดูให้ดีว่าไม่ไปจอดกีดขวางรถคันอื่น จนอาจจะทำให้เขาเคลื่อนที่เข้าออกได้ยากเท่านั้น

----------แต่หากมี ความจำเป็นต้องจอดรถบน "พื้นที่ลาดเอียง" เช่นทางขึ้นลงสะพาน หรือทางเข้าออกบ้านที่มีระดับสูงกว่าระดับพื้นถนน ก็ต้องเพิ่มกฎว่าด้วยความปลอดภัยป้องกันรถไหลเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง

---------- เบื้องต้นให้ดูว่าเป็นการจอดรถบนทาง ลาดเอียงแบบที่ส่วนหัวของรถเชิดขึ้นสูงกว่าส่วนท้ายรถใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็ให้จอดรถด้วยการเข้าเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง P ในกรณีที่เป็นเกียร์อัตโนมัติ แต่หากเป็นรถเกียร์ธรรมดาก็ให้โยกคันเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่ง "เกียร์หนึ่ง" จากนั้นก็ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด และต้องหักพวงมาลัยในลักษณะเลี้ยวขวาให้ล้อหน้าอยู่ในท่าหักเลี้ยวไม่น้อย กว่าสี่สิบห้าองศา หรือจนด้านหลังของยางหน้าแตะขอบสะพานหรือขอบฟุตบาทของถนน

---------- ทั้งนี้หากเป็นการจอดรถในลักษณะที่ หัวรถทิ่มต่ำลงหรือจอดในทางลาดลง ถ้าเป็นรถเกียร์อัตโนมัติก็ให้โยกคันเกียร์ไปที่ P แล้วดึงเบรกมือขึ้นมาให้สุด แต่ถ้าเป็นรถเกียร์ธรรมดาก็ให้เข้าเกียร์ถอยหลังเอาไว้ แล้วดึงเบรกมือขึ้นมาเช่นกัน ส่วนพวงมาลัยก็ให้หักเลี้ยวซ้ายจนยางล้อหน้าทำมุมไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าองศา หรือจนหน้ายางแตะขอบสะพานหรือขอบฟุตบาท

----------การจอดรถตามลักษณะ ที่บอกมา ถือว่าเป็นการจอดรถที่อยู่ในระดับปลอดภัยมาก เพราะแม้ว่าบางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาด เช่นมีรถบรรทุกหนักวิ่งผ่านจนสะพานหรือถนนสั่นไหว รถของเราอาจจะเคลื่อนตัวไหลไปตามทาง "ลาดชัน" แต่การที่เราเข้าเกียร์ P และดึงเบรกมือเอาไว้ จะช่วยป้องกันการไหลของรถได้

----------โดย เฉพาะอย่างยิ่งการที่เราหักพวง มาลัยจนล้ออยู่ในตำแหน่งดังกล่าว จะทำให้รถไม่สามารถไหลขยับไปไหนได้อีก เนื่องจากยางไปชนกับขอบสะพานหรือขอบฟุตบาทเสียแล้ว

----------สำหรับ ตำแหน่งของเกียร์ธรรมดาก็เช่น กัน เมื่อท่านจอดรถในลักษณะหน้าทิ่มลงและใส่เกียร์ถอยหลังเอาไว้ เมื่อรถขยับและทำท่าว่าจะเกิดอาการไหล เกียร์ถอยหลังจะเป็นตัวดึงไม่ให้รถเกิดการไหลลงต่อไป ในทำนองเดียวกันกับการจอดรถเชิดหน้าขึ้น เมื่อรถจะไหลถอยหลังลงมาตามทางลาดชัน เกียร์หนึ่งจะเป็นตัวช่วยดึงรถเอาไว้ไม่ให้ไหลเคลื่อนที่

---------- แต่ไม่ว่าจะจอดรถในรูปแบบใดหรือเข้า เกียร์ใดไว้ก็ตาม การจอดรถบนพื้นที่ลาดเอียงแบบนี้ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อท่านกลับมาที่รถและติดเครื่องยนต์เพื่อที่จะนำรถเคลื่อนที่ออกไป ท่านจะรู้สึกได้เลยว่า "เกียร์" ของรถท่านจะขยับและเข้ายากกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติไม่ต้องตกใจหรือคิดว่าเกียร์ของท่านเสียหายแต่ อย่างใด

----------การจอดบนพื้นที่ลาดเอียงบ่อยๆ เป็นประจำ อาจจะทำให้ชิ้นส่วนช่วงล่างของรถเกิดการสึกหรอที่ผิดปกติ หรืออาจจะทำให้รถคันนั้นๆ มีอาการเสียศูนย์หรือมีโครงสร้างบิดเบี้ยวได้ด้วยนะครับ...

เรื่อง น้ำมันเครื่อง

เรื่อง น้ำมันเครื่อง


รถยนต์บางคันจอดมากกว่าใช้งานน้ำมัน เครื่องสามารถเสื่อมลงได้แม้เครื่องยนต์ไม่ค่อยถูกใช้งาน เพราะมีการทำปฏิกิริยากับอากาศมากบ้าง น้อยบ้าง แม้ระยะทางไม่ครบกำหนด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์และกึ่งสังเคราะห์ควรเปลี่ยนทุก 6-9 เดือน และน้ำมันเครื่องธรรมดาไม่เกิน 6 เดือน
น้ำมันเครื่องที่เหลือในกระป๋องต้องปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่แห้งและไม่ร้อนมาก จะคงสภาพได้ประมาณ 1-2 ปี
เกรด คุณภาพ API / เครื่องยนต์เบนซิน = SJ & SH & SG ... / เครื่องยนต์ดีเซล = CG-4 & CF-4 & CE ... เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านต่างๆ ของน้ำมันเครื่องโดยตรง
เกรดความหนืด SAE ...W/40 & SAE ... W/50 & SAE 40 & SAE 50 เกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นเคลือบและการไหลเวียน
น้ำมันเครื่องธรรมดา ใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 3,000-5,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 4,000-7,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 8,000-10,000 กิโลเมตร
การจับพวงมาลัย
ที่ถูกต้อง 3 และ9 หรือ 2 และ10
การดูแลและใช้ยาง
วัด แรงดันลมให้ได้มาตรฐาน หากยางปกติ ไม่มีการรั่วซึม ตรวจแรงดันลมทุกสัปดาห์ก็พอ แรงดันลมมาตรฐานของยางรถยนต์ทุกรุ่นมีระบุไว้ที่ตัวรถยนต์หรือคู่มือประจำรถ ยนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 28-32 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) สำหรับรถยนต์นั่งการวัดแรงดันลมยางต้องกระทำในขณะที่ยางยังเย็นหรือร้อนไม่ มาก (ขับไม่เกิน 2-3 กิโลเมตร)
หากเติมและวัดลมตามปั๊มน้ำมันพร้อมเติม น้ำมันก็สะดวกดี แต่เมื่อยางร้อนแล้วต้องเผื่อแรงดันที่วัดได้เกินจากมาตรฐานสัก 1-2 ปอนด์/ตารางนิ้ว แล้วดูว่ายางเส้นไหนลมอ่อนมากกว่ายางเส้นอื่นมากหรือเปล่า หากมีแสดงว่ามีปัญหารั่วซึม
การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า (OVERHAUL)
อีก ประการก็คือ การเลือกฟิตเครื่องเก่าจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ ไม่ต้องเปลี่ยนลูกสูบ, แบริ่ง (ชาฟท์) และวาล์ว รวมถึงในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะถ้าค่าใช้จ่ายในการฟิตเครื่องสูงกว่า 50% ของราคาเครื่องเก่าในเชียงกง
การเปลี่ยนเครื่องยนต์
การเลือก วิธีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อเป็นเครื่องยนต์ของรถยุโรป ที่มีปริมาณเครื่องยนต์เก่าซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายกันน้อยและมีราคาสูง แต่ถ้าเป็นรถญี่ปุ่น เครื่องยนต์ในตลาดอะไหล่เก่าให้เลือกมาก และอย่างจุใจ

การเติมลม

การเติมลม
การเติมลม ให้กับล้อแม็ก ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
# เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ
# เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป
# หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3 - 5 ปอนด์/ตร.นิ้ว
# หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ความดันลมยาง สำหรับรถเก๋งและรถกระบะ

รถเก๋ง ความดันสูงสุด ไม่ควรเกิน 36 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถนั้นๆ ด้วย เช่น ...

# รถเก๋งขนาดเล็ก ความดันลมยาง ประมาณ 25 - 30 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
# รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่ ความดันลมยาง ประมาณ 30 - 35 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
# รถกระบะ ความดันลมยาง ไม่ควรเกิน 65 ปอนด์ / ตารางนิ้ว


การ เติมลมยาง มากเกินไป

# บริเวณของกึ่งกลางของหน้ายางจะสึกหรอได้ง่าย
# การรับแรงและการยืดหยุ่นด้อยลง เมื่อมีการรับน้ำหนักหรือการกระแทก ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของยางได้ง่าย
# การทรงตัวและการเกาะถนน ไม่ดีเท่าที่ควร

การ เติมลมยาง น้อยเกินไป

# บริเวณไหล่ยาง จะสึกเร็วกว่าปกติ แก้มยางทำงานหนัก สึกหรอได้ง่าย
# การหมุนหรือบังคับ พวงมาลัย ได้ยากขึ้น
# การทรงตังของรถในขณะขับขี่ด้อยล

!!!นอกจากนี้หาก ดอกยาง สึกเป็นช่วงๆ คล้ายฟันเลื่อย สันนิฐานปัญหาอาจเกิดจากศูนย์ของล้อมีความผิดปกติ

ดังนั้นจึงขอให้ท่านเจ้าของรถ ใช้ความระมัดระวัง และต้องเข้าใจ
ใน การ เติมลม ทุกครั้ง ถึงแม้เราจะไม่ได้เติมเองแต่อย่างน้อยก็ควรบอก เด็กปั๊ม ให้เติมลมยางได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ก็จะเป็นผลดีต่อ ล้อแม็ก ยาง และรวมไปถึงความปลอดภัยแก่ตัวเราด้วย
@%@%@%@%@%@

การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก

การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก

ควรเปิดไฟหน้าแบบต่ำ เพราะถ้าเปิดไฟสูง สายฝนจะสะท้อนกลับมายังผู้ขับมากจนมองเส้นทางข้างหน้ายาก ไม่ควรเปิดไฟหรี่ เพราะการเปิดไฟหน้าแบบต่ำ แทบไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรเลย ไดชาร์จ (อัลเตอร์เนเตอร์) แทบไม่ได้ทำงานหนักขึ้น หลอดไฟหน้าจะอายุสั้นลงก็ไม่ใช่ปัญหา หลอดละร้อยสองร้อยบาทเท่านั้น เมื่อจะเปลี่ยนเลน ให้เปิดไฟเลี้ยวเตือนผู้อื่นล่วงหน้าตาม ขับรถลุยฝน ใช้ความเร็วต่ำกว่าความมั่นใจของตนเองเล็กน้อย อย่าชะล่าใจ ควรจับพวงมาลัย 2 มือในตำแหน่งที่แนะนำไว้ข้างต้น พร้อมจะลดความเร็วลงได้อย่างรวดเร็ว ระวังอาการเหินน้ำของยางไว้ทุกวินาที

การหยุดรถ และการจอดรถ

การหยุดรถ และการจอดรถ

1. การหยุดรถ หรือจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน หรือสัญญาณไฟก่อนที่จะหยุด หรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร

2. ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดขอบทางหรือไหล่ทางในระยะไม่เกิน 25 ซม.

3. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
3.1 ในช่องทางเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของขอบทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
3.2 บนทางเท้า
3.3 บนสะพานหรือในอุโมงค์
3.4 ทางร่วมทางแยก
3.5 ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
3.6 ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
3.7 ในเขตปลอดภัย
3.8 ในลักษณะกีดขวางการจราจร

4. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ
4.1 บนทางเท้า
4.2 บนสะพานหรือในอุโมงค์
4.3 ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
4.4 ในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
4.5 ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
4.6 ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
4.7 ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
4.8 ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
4.9 ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
4.10 ตรงปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
4.11 ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
4.12 ในที่ขับคัน
4.13 ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
4.14 ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
4.15 ในลักษณะกีดขวางการจราจร

5. ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้ โดยชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

6. ในทางเดินรถที่มีรถไฟผ่าน ถ้าปรากฎว่า
6.1 มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟ แสดงว่ารถไฟผ่าน
6.2 มีสิ่งปิดกั้นหรือเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ แสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
6.3 มีเสียงสัญญาณของรถไฟ หรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้ อาจเกิดอันตรายในเมื่อขับรถผ่านไป ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อรถไฟผ่านไปแล้ว และมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านได้ ผู้ขับขี่จึงจะขับรถผ่านไปไดั

7. ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่าน ไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระหว่างรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านไปได้

8. ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถ เพื่อรับส่งนักเรียนขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่รถอื่นที่ตามมาในทิศทางเดียวกัน หรือสวนกันกับรถโรงเรียนใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงให้ขับรถผ่านไปได้


"จากคู่มือการขับขี่ปลอดภัยสำหรับข้าราชการกองทัพอากาศ"