วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ?

แอร์เริ่มไม่เย็น และส่งกลิ่นอับเวลาเปิดแอร์ใหม่ ควรทำอย่างไร ?

รถ ใหม่มักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องระบบปรับอากาศหรือแอร์ เพราะเป็นของใหม่ แกะกล่อง โดยเฉพาะแอร์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่ จะใช้น้ำยา R134a ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่สร้างมลพิษในอากาศ แน่นอน แต่ว่าราคาของน้ำยาแอร์สูงพอสมควร แต่ สำหรับรถรุ่นเก่ามักจะใช้น้ำยาแอร์ รุ่นเก่า ที่เห็นกันตามร้านแอร์ทั่วไปส่วนระบบแต่งๆไม่แตกต่างกัน เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุ บางอย่างโดยเฉพาะน้ำยาแอร์ซึ่งคุณสมบัติดีกว่า

- ส่วนกลิ่นอับซึ่งเกิดขึ้นอาจจะมาจากน้ำ

เกิดจากการกลั่นตัวจากคอยล์เย็น ไม่สามารถจะระบายออกจากถาดรองผ่าน
รูระบายออกไปได้ เวลาเลี้ยวรถแรงๆ น้ำอาจจะล้นกระฉอกออกมาเปียกเท้า และพรมเป็นประจำ จนทำให้เกิดเชื้อราและ
กลิ่นอับชื้น ควรตรวจเช็ครูระบายน้ำของระบบแอร์ ซึ่งก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงแต่ลองสำรวจดูบริเวณหลัง
คอนโซลกลางรถ หรืออาจจะอยู่ด้านหลังของช่องเก็บของบนแผงหน้าปัด ตามแต่ตำแหน่งของตู้แอร์ในรถแต่ละรุ่นจะอยู่ตรงไหน
เพราะจากความชื้นของพรมหากมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดไฟช็อตหรือลัดวงจรได้ หากแอร์ไม่เย็นควรเช็คน้ำยาแอร์ โดยสังเกต
จากช่องกระจกในตัวกรอง และอาจจะมาจากคอยล์เย็นเริ่มตัน เพราะฝุ่นมาเกาะมากเกินไป จึงควรทำการล้างตู้แอร์เพื่อให้
โบลเวอร์ หรือพัดลมกระจายความเย็นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และถอดพรมออกตากแดดให้แห้งสนิทเพื่อไม่มีกลิ่นอับรบกวน

: - เครื่องปรับอากาศมีลมออกมา แต่ไม่มีความเย็น

ระบบปรับอากาศนับว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากสำหรับการใช้รถใช้ถนนในเมืองไทย แต่ขณะที่ขับรถยนต์อยู่เพลินๆ
ลมเย็นๆ ของแอร์เกิดไม่เย็นอย่างที่เคยขึ้นมา โดยมีแต่ลมพัดออกมาแต่ไม่มีความเย็น มีสาเหตุอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ

: - คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน

สาเหตุใหญ่ที่ทำให้คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน ก็คือ ไม่มีกระแสไฟมาทำให้มันทำงาน
การป้องกันและดูแลรักษา คงจะดูแล และป้องกันได้ยาก เพราะไม่มีอะไรเป็นสิ่งบอกเหตุได้ แต่จะสามารถตรวจสอบ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ โดยการสังเกตจากการทดลอง เปิด/ปิดระบบการทำงานของระบบปรับอากาศ หากทำการ
ทดลองแล้วเสียงของเครื่องยนต์ยังปกติ หรือความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไม่มีอาการลด หรือเร่งขึ้น สันนิษฐานได้ในเบื้องต้น
เลยว่าคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานแล้ว แต่หากทำการทดลองแล้วปรากฏว่าเสียง หรือความเร็วรอบของเครื่องยนต์มีการเร่ง
หรือลด เราควรจะมาตรวจปริมาณน้ำยาเครื่องปรับอากาศกันดีกว่า

- ไม่มีน้ำยาทำความเย็นในระบบ ปริมาณน้ำยาเครื่องปรับอากาศ หรือน้ำยาแอร์

เรา สามารถตรวจสอบได้ โดยการมอง ดูที่ตาแมวของตัว Dryer หากน้ำยาแอร์เต็มจะสามารถมองเห็นตัวน้ำยาวิ่งอยู่ หากน้ำยาแอร์ลดลง หรือไม่มีอยู่เลย จะเห็นตัว น้ำยาเป็นฟองอากาศ หรือมีลักษณะว่างๆ ถ้าหากตรวจสอบดูแล้วมีการลดน้อยของน้ำยาแอร์ ก็ควรมาตรวจสอบดูว่า สาเหตุของ
การลดน้อยของน้ำยาแอร์นั้นเกิดจากอะไร ทั้งนี้ผู้ขับขี่สามารถตรวจสอบได้ที่ข้อต่อต่างๆ ของระบบแอร์ ว่ามีรอบหรือคราบของ
น้ำยาแอร์เยิ้มออกมาหรือไม่ หากพบควรนำรถเข้าหาช่างผู้ชำนาญเพื่อทำการแก้ไขต่อไป

เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ

เทคนิคการขับรถป้องกันเชิงอุบัติเหตุ
-----อุบัติเหตุ ทางถนนส่วนใหญ่ เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ จากผู้ขับขี่ที่มีความพร้อมทางร่างกาย ช่างสังเกตและวางแผนล่วงหน้า ฝึกฝนทักษะและอุปนิสัยในการขับรถเพื่อป้องกันอุบัติ

-----ก่อนขึ้นนั่งหลังพวงมาลัย ร่างกายและจิตใจต้องพร้อม
------ ตรวจร่างกายและสายตาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้รู้ความบกพร่องจองตัวเองก่อนที่จะสายเกินไป
------ ความเหนื่อยล้า ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล และความโกรธ ทำให้สมรรถนะในการขับขี่ของคุณลดลง การตัดสินใจจะเชื่องช้า หรือขาดความรอบคอบ
------ แอลกอฮอล์และของมึนเมา มีผลกระทบต่อการขับรถและการตัดสินใจมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เสพ ถ้าเสพในระดับหนึ่ง จะทำให้เกิดความคึกคะนอง ก้าวร้าว ตัดสินใจเร็ว จะนำไปสู่ความประมาทและผิดพลาดได้ แต่ถ้าเสพมากถึงอีกระดับหนึ่ง จะทำให้ประสาทสั่งการช้าหรืออาจถึงหลับใน และถ้าเสพมากจนเกินขนาด อาจทำให้ร่างกายไม่ปฏิบัติตามที่สมองสั่งการ
------ คาดเข็มขัดนิรภัยก่อนสตาร์ทรถ และตลอดเวลาที่ขับขี่ และอย่าลืมเตือนผู้โดยสารให้คาดด้วย
------ มีน้ำใจและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

-----การขับรถให้นุ่มนวล และปลอดภัย
------ อ่านสิ่งต่าง ๆ บนถนนอย่างละเอียด
------ สังเกตสิ่งต่างๆ บนถนนให้ถี่ถ้วน แล้วคุณจะคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าอะไรจะเกิดขึ้น สภาพการจราจรข้างหน้าจะผันแปรไปอย่างไร
------ ควรกวาดสายตาไปทั่วๆ มองใกล้ มองไกล และจากฟากหนึ่งไปอีกฟากหนึ่งของถนน แล้วมองกระจกส่องหลังสลับกันไปด้วย อย่ามองจับนิ่งอยู่จุดใดจุดเดียวนานๆ
------ คันเร่ง ตัวบงการความเร็ว ช้าหรือนุ่มนวล ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ขับ
------ เหยียบคันเร่งเบาๆ ค่อยๆ เร่งความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างมีจังหวะจะโคน จะทำให้ขับรถได้นุ่มนวล มีความปลอดภัยสูง สามารถควบคุมรถได้ดี และยังประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย
------ ใส่รองเท้าที่สะดวกต่อการขับขี่ ไม่ควรสวมรองเท้าส้นหนามากๆ หรือมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้ไม่รู้น้ำหนักที่เหยียบคันเร่ง
------ จับและหมุนพวงมาลัยให้ถูกต้อง
------ รถนั่งไม่เกิน 7 คน รถปิ๊กอัพ รถตู้ และรถขนาดเล็กทั่วไป จับตรงตำแหน่งนาฬิกาที่ 10 โมงเช้า-บ่าย 2 โมงเย็น
------ รถใหญ่ รถน้ำมัน รถบรรทุก และรถโดยสารขนาดใหญ่ ควรจับในตำแหน่ง 9 โมงเช้า-บ่าย 3 โมงเย็น
------ หมุนพวงมาลัยแบบดึงและดัน เวลาหมุนพวงมาลัยมือหนึ่งดึงอีกข้างหนึ่ง ดันสลับกันดึงและดัน โดยไม่ข้ามตำแหน่ง 12 นาฬิกาและ 18 นาฬิกา (หกโมงเย็น) ขณะหมุนต้องให้พวงมาลัยรูดผ่านมือตลอดเวลา ไม่ใช้วิธียกจับ การหมุนพวงมาลัยแบบนี้ จะทำให้การควบคุมรถ เลี้ยวรถแน่นอน นุ่มนวล และถูกต้อง เทคนิคนี้สามารถแก้ไขฉุกเฉินที่เกิดขึ้นให้เข้าสู่สภาวะที่ปลอดภัยได้เป็น อย่างดี
------ ถอยหลัง อย่าประมาท ดูให้รอบคอบ
------ อย่าใช้และเชื่อกระจกมองหลังมองข้างเพียงอย่างเดียว ใช้ตาช่วยหันมองด้านข้าง เพื่อดูมุมอับและจุดบอดต่างๆ ก่อนทุกครั้ง
"ที่มา สาระน่ารู้ของกรมการขนส่งทางบก"

จอดรถให้ปลอดภัย

จอดรถให้ปลอดภัย
------------------------------เรื่อง วิธีการจอดรถโดยทั่วไปมีหลักปฏิบัติที่ไม่ยุ่งยากอะไรมากนัก หากเป็นการจอดรถบนพื้นที่ราบเสมอกัน การจอดตามแบบที่บอกมาก็ถือว่าถูกต้องและเหมาะสมเพียงพอแล้ว เพิ่มเติมเพียงแค่ดูให้ดีว่าไม่ไปจอดกีดขวางรถคันอื่น จนอาจจะทำให้เขาเคลื่อนที่เข้าออกได้ยากเท่านั้น

----------แต่หากมี ความจำเป็นต้องจอดรถบน "พื้นที่ลาดเอียง" เช่นทางขึ้นลงสะพาน หรือทางเข้าออกบ้านที่มีระดับสูงกว่าระดับพื้นถนน ก็ต้องเพิ่มกฎว่าด้วยความปลอดภัยป้องกันรถไหลเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง

---------- เบื้องต้นให้ดูว่าเป็นการจอดรถบนทาง ลาดเอียงแบบที่ส่วนหัวของรถเชิดขึ้นสูงกว่าส่วนท้ายรถใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็ให้จอดรถด้วยการเข้าเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง P ในกรณีที่เป็นเกียร์อัตโนมัติ แต่หากเป็นรถเกียร์ธรรมดาก็ให้โยกคันเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่ง "เกียร์หนึ่ง" จากนั้นก็ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด และต้องหักพวงมาลัยในลักษณะเลี้ยวขวาให้ล้อหน้าอยู่ในท่าหักเลี้ยวไม่น้อย กว่าสี่สิบห้าองศา หรือจนด้านหลังของยางหน้าแตะขอบสะพานหรือขอบฟุตบาทของถนน

---------- ทั้งนี้หากเป็นการจอดรถในลักษณะที่ หัวรถทิ่มต่ำลงหรือจอดในทางลาดลง ถ้าเป็นรถเกียร์อัตโนมัติก็ให้โยกคันเกียร์ไปที่ P แล้วดึงเบรกมือขึ้นมาให้สุด แต่ถ้าเป็นรถเกียร์ธรรมดาก็ให้เข้าเกียร์ถอยหลังเอาไว้ แล้วดึงเบรกมือขึ้นมาเช่นกัน ส่วนพวงมาลัยก็ให้หักเลี้ยวซ้ายจนยางล้อหน้าทำมุมไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าองศา หรือจนหน้ายางแตะขอบสะพานหรือขอบฟุตบาท

----------การจอดรถตามลักษณะ ที่บอกมา ถือว่าเป็นการจอดรถที่อยู่ในระดับปลอดภัยมาก เพราะแม้ว่าบางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาด เช่นมีรถบรรทุกหนักวิ่งผ่านจนสะพานหรือถนนสั่นไหว รถของเราอาจจะเคลื่อนตัวไหลไปตามทาง "ลาดชัน" แต่การที่เราเข้าเกียร์ P และดึงเบรกมือเอาไว้ จะช่วยป้องกันการไหลของรถได้

----------โดย เฉพาะอย่างยิ่งการที่เราหักพวง มาลัยจนล้ออยู่ในตำแหน่งดังกล่าว จะทำให้รถไม่สามารถไหลขยับไปไหนได้อีก เนื่องจากยางไปชนกับขอบสะพานหรือขอบฟุตบาทเสียแล้ว

----------สำหรับ ตำแหน่งของเกียร์ธรรมดาก็เช่น กัน เมื่อท่านจอดรถในลักษณะหน้าทิ่มลงและใส่เกียร์ถอยหลังเอาไว้ เมื่อรถขยับและทำท่าว่าจะเกิดอาการไหล เกียร์ถอยหลังจะเป็นตัวดึงไม่ให้รถเกิดการไหลลงต่อไป ในทำนองเดียวกันกับการจอดรถเชิดหน้าขึ้น เมื่อรถจะไหลถอยหลังลงมาตามทางลาดชัน เกียร์หนึ่งจะเป็นตัวช่วยดึงรถเอาไว้ไม่ให้ไหลเคลื่อนที่

---------- แต่ไม่ว่าจะจอดรถในรูปแบบใดหรือเข้า เกียร์ใดไว้ก็ตาม การจอดรถบนพื้นที่ลาดเอียงแบบนี้ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อท่านกลับมาที่รถและติดเครื่องยนต์เพื่อที่จะนำรถเคลื่อนที่ออกไป ท่านจะรู้สึกได้เลยว่า "เกียร์" ของรถท่านจะขยับและเข้ายากกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติไม่ต้องตกใจหรือคิดว่าเกียร์ของท่านเสียหายแต่ อย่างใด

----------การจอดบนพื้นที่ลาดเอียงบ่อยๆ เป็นประจำ อาจจะทำให้ชิ้นส่วนช่วงล่างของรถเกิดการสึกหรอที่ผิดปกติ หรืออาจจะทำให้รถคันนั้นๆ มีอาการเสียศูนย์หรือมีโครงสร้างบิดเบี้ยวได้ด้วยนะครับ...

เรื่อง น้ำมันเครื่อง

เรื่อง น้ำมันเครื่อง


รถยนต์บางคันจอดมากกว่าใช้งานน้ำมัน เครื่องสามารถเสื่อมลงได้แม้เครื่องยนต์ไม่ค่อยถูกใช้งาน เพราะมีการทำปฏิกิริยากับอากาศมากบ้าง น้อยบ้าง แม้ระยะทางไม่ครบกำหนด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์และกึ่งสังเคราะห์ควรเปลี่ยนทุก 6-9 เดือน และน้ำมันเครื่องธรรมดาไม่เกิน 6 เดือน
น้ำมันเครื่องที่เหลือในกระป๋องต้องปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่แห้งและไม่ร้อนมาก จะคงสภาพได้ประมาณ 1-2 ปี
เกรด คุณภาพ API / เครื่องยนต์เบนซิน = SJ & SH & SG ... / เครื่องยนต์ดีเซล = CG-4 & CF-4 & CE ... เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านต่างๆ ของน้ำมันเครื่องโดยตรง
เกรดความหนืด SAE ...W/40 & SAE ... W/50 & SAE 40 & SAE 50 เกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นเคลือบและการไหลเวียน
น้ำมันเครื่องธรรมดา ใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 3,000-5,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 4,000-7,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 8,000-10,000 กิโลเมตร
การจับพวงมาลัย
ที่ถูกต้อง 3 และ9 หรือ 2 และ10
การดูแลและใช้ยาง
วัด แรงดันลมให้ได้มาตรฐาน หากยางปกติ ไม่มีการรั่วซึม ตรวจแรงดันลมทุกสัปดาห์ก็พอ แรงดันลมมาตรฐานของยางรถยนต์ทุกรุ่นมีระบุไว้ที่ตัวรถยนต์หรือคู่มือประจำรถ ยนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 28-32 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) สำหรับรถยนต์นั่งการวัดแรงดันลมยางต้องกระทำในขณะที่ยางยังเย็นหรือร้อนไม่ มาก (ขับไม่เกิน 2-3 กิโลเมตร)
หากเติมและวัดลมตามปั๊มน้ำมันพร้อมเติม น้ำมันก็สะดวกดี แต่เมื่อยางร้อนแล้วต้องเผื่อแรงดันที่วัดได้เกินจากมาตรฐานสัก 1-2 ปอนด์/ตารางนิ้ว แล้วดูว่ายางเส้นไหนลมอ่อนมากกว่ายางเส้นอื่นมากหรือเปล่า หากมีแสดงว่ามีปัญหารั่วซึม
การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า (OVERHAUL)
อีก ประการก็คือ การเลือกฟิตเครื่องเก่าจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ ไม่ต้องเปลี่ยนลูกสูบ, แบริ่ง (ชาฟท์) และวาล์ว รวมถึงในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะถ้าค่าใช้จ่ายในการฟิตเครื่องสูงกว่า 50% ของราคาเครื่องเก่าในเชียงกง
การเปลี่ยนเครื่องยนต์
การเลือก วิธีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อเป็นเครื่องยนต์ของรถยุโรป ที่มีปริมาณเครื่องยนต์เก่าซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายกันน้อยและมีราคาสูง แต่ถ้าเป็นรถญี่ปุ่น เครื่องยนต์ในตลาดอะไหล่เก่าให้เลือกมาก และอย่างจุใจ

การเติมลม

การเติมลม
การเติมลม ให้กับล้อแม็ก ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
# เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ
# เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป
# หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3 - 5 ปอนด์/ตร.นิ้ว
# หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ความดันลมยาง สำหรับรถเก๋งและรถกระบะ

รถเก๋ง ความดันสูงสุด ไม่ควรเกิน 36 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถนั้นๆ ด้วย เช่น ...

# รถเก๋งขนาดเล็ก ความดันลมยาง ประมาณ 25 - 30 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
# รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่ ความดันลมยาง ประมาณ 30 - 35 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
# รถกระบะ ความดันลมยาง ไม่ควรเกิน 65 ปอนด์ / ตารางนิ้ว


การ เติมลมยาง มากเกินไป

# บริเวณของกึ่งกลางของหน้ายางจะสึกหรอได้ง่าย
# การรับแรงและการยืดหยุ่นด้อยลง เมื่อมีการรับน้ำหนักหรือการกระแทก ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของยางได้ง่าย
# การทรงตัวและการเกาะถนน ไม่ดีเท่าที่ควร

การ เติมลมยาง น้อยเกินไป

# บริเวณไหล่ยาง จะสึกเร็วกว่าปกติ แก้มยางทำงานหนัก สึกหรอได้ง่าย
# การหมุนหรือบังคับ พวงมาลัย ได้ยากขึ้น
# การทรงตังของรถในขณะขับขี่ด้อยล

!!!นอกจากนี้หาก ดอกยาง สึกเป็นช่วงๆ คล้ายฟันเลื่อย สันนิฐานปัญหาอาจเกิดจากศูนย์ของล้อมีความผิดปกติ

ดังนั้นจึงขอให้ท่านเจ้าของรถ ใช้ความระมัดระวัง และต้องเข้าใจ
ใน การ เติมลม ทุกครั้ง ถึงแม้เราจะไม่ได้เติมเองแต่อย่างน้อยก็ควรบอก เด็กปั๊ม ให้เติมลมยางได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ก็จะเป็นผลดีต่อ ล้อแม็ก ยาง และรวมไปถึงความปลอดภัยแก่ตัวเราด้วย
@%@%@%@%@%@

การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก

การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก

ควรเปิดไฟหน้าแบบต่ำ เพราะถ้าเปิดไฟสูง สายฝนจะสะท้อนกลับมายังผู้ขับมากจนมองเส้นทางข้างหน้ายาก ไม่ควรเปิดไฟหรี่ เพราะการเปิดไฟหน้าแบบต่ำ แทบไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรเลย ไดชาร์จ (อัลเตอร์เนเตอร์) แทบไม่ได้ทำงานหนักขึ้น หลอดไฟหน้าจะอายุสั้นลงก็ไม่ใช่ปัญหา หลอดละร้อยสองร้อยบาทเท่านั้น เมื่อจะเปลี่ยนเลน ให้เปิดไฟเลี้ยวเตือนผู้อื่นล่วงหน้าตาม ขับรถลุยฝน ใช้ความเร็วต่ำกว่าความมั่นใจของตนเองเล็กน้อย อย่าชะล่าใจ ควรจับพวงมาลัย 2 มือในตำแหน่งที่แนะนำไว้ข้างต้น พร้อมจะลดความเร็วลงได้อย่างรวดเร็ว ระวังอาการเหินน้ำของยางไว้ทุกวินาที

การหยุดรถ และการจอดรถ

การหยุดรถ และการจอดรถ

1. การหยุดรถ หรือจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน หรือสัญญาณไฟก่อนที่จะหยุด หรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร

2. ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดขอบทางหรือไหล่ทางในระยะไม่เกิน 25 ซม.

3. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
3.1 ในช่องทางเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของขอบทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
3.2 บนทางเท้า
3.3 บนสะพานหรือในอุโมงค์
3.4 ทางร่วมทางแยก
3.5 ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
3.6 ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
3.7 ในเขตปลอดภัย
3.8 ในลักษณะกีดขวางการจราจร

4. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ
4.1 บนทางเท้า
4.2 บนสะพานหรือในอุโมงค์
4.3 ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
4.4 ในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
4.5 ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
4.6 ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
4.7 ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
4.8 ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
4.9 ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
4.10 ตรงปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
4.11 ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
4.12 ในที่ขับคัน
4.13 ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
4.14 ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
4.15 ในลักษณะกีดขวางการจราจร

5. ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้ โดยชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

6. ในทางเดินรถที่มีรถไฟผ่าน ถ้าปรากฎว่า
6.1 มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟ แสดงว่ารถไฟผ่าน
6.2 มีสิ่งปิดกั้นหรือเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ แสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
6.3 มีเสียงสัญญาณของรถไฟ หรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้ อาจเกิดอันตรายในเมื่อขับรถผ่านไป ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อรถไฟผ่านไปแล้ว และมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านได้ ผู้ขับขี่จึงจะขับรถผ่านไปไดั

7. ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่าน ไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระหว่างรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านไปได้

8. ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถ เพื่อรับส่งนักเรียนขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่รถอื่นที่ตามมาในทิศทางเดียวกัน หรือสวนกันกับรถโรงเรียนใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงให้ขับรถผ่านไปได้


"จากคู่มือการขับขี่ปลอดภัยสำหรับข้าราชการกองทัพอากาศ"

ลากรถอย่างไรเมื่อรถเสีย

ลากรถอย่างไรเมื่อรถเสีย
วิธีลากรถที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 วิธี คือ
1. ใช้รถบรรทุกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษรถลากประเภทนี้มีกว้านติดตั้งอยู่ในตัวรถ บรรทุก เพื่อดึงรถของคุณขึ้นมาไว้บนรถกระบะ และจะมีอุปกรณ์ยึดรถของคุณไว้กับพื้นกระบะ อย่างแน่นหนา

2. ใช้อุปกรณ์ยกล้อ วิธีนี้รถลากจะมีแขนที่ท้ายรถ 2 ข้างซึ่งทำหน้าที่รองรับล้อคู่หน้า หรือล้อคู่หลังของรถคุณ คู่ใดคู่หนึ่งเท่านั้น ล้อคู่ที่เหลือจะยังคงสัมผัสพื้น

3. ใช้อุปกรณ์ลากแบบลวดสลิง รถลากนี้จะมีชุดลวดสลิงพร้อมตะขออยู่ที่ท้ายรถ ลากรถโดยนำตะขอไปเกี่ยวกับเฟรมรถหรือชิ้นส่วนของระบบช่วงล่าง จากนั้นลวดสลิงจะยกรถด้านนั้นให้ล้อลอยขึ้นจากพื้น การลากรถด้วยวิธีนี้จะทำให้ตัวถังรถและชิ้นส่วนของระบบช่วงล่างเสียหายได้


.......... การใช้รถบรรทุกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเป็นวิธีการขนย้ายที่ดีที่สุด กรณีที่ไม่สามารถติดต่อหารถดังกล่าวได้ แนะนำให้ใช้บริการรถยกซึ่งมีอุปกรณ์ยกล้อ ซึ่งหลักในการยกล้อรถมีดังนี้

.......... รถ ขับเคลื่อนล้อหน้า ให้ยกล้อทั้งสองล้อขึ้นและลากรถเดินหน้ารถขับเคลื่อนล้อหลังให้ยกล้อหลัง ทั้งสองล้อขึ้น และลากรถถอยหลัง รถเกียร์ธรรมดาใส่เกียร์ว่าง ส่วนรถเกียร์ออโตเมติกก็ให้เลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง N ที่สำคัญอย่าลืมปลดเบรกมือและดับเครื่องยนต์รถคู่ใจของคุณด้วย

.......... กรณี ที่เป็นรถประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ คุณสามารถเลือกยกล้อคู่หน้าหรือคู่หลังให้พ้นจากพื้นก็ได้ตามความเหมาะสม แต่มีเทคนิคตรงที่ต้องโยกคันเกียร์สโลว์มาอยู่ที่ตำแหน่ง "2H" ปลด ล็อกดุมล้อหน้า ปลดเกียร์ว่าง ปลดเบรกมือและดับเครื่องยนต์ให้เรียบร้อยก่อนทำการลากรถ

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อการขับขี่ในพื้นที่ลักษณะต่างๆ

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อการขับขี่ในพื้นที่ลักษณะต่างๆ
พื้นที่ๆ มีโคลนและทราย
เมื่อ ขับขี่ผ่านเส้นทางที่มีสภาพถนนเช่นนี้ ไม่ควรแตะเบรคหรือ ดึงเบรคมือ อย่างกระทันหัน เพราะจะทำให้รถเสียหลัก ควรใช้เกียร์ต่ำ ในการขับเคลื่อนผ่านเส้นทาง พยายามควบคุมพวงมาลัย หลีกเลี่ยงจุดที่มีโคลนเหลวมากๆ หรือกองทราย เพราะหากล้อชุดที่ขับเคลื่อน วิ่งผ่าน อาจเกิดเหตุการณ์ล้อหมุนฟรี และไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้

พื้นที่ๆ ลื่นด้วยน้ำมัน
เมื่อ ถนนบางเส้นทาง เกิดมีน้ำมันเครื่อง หกเกลื่อนถนน จะเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ผู้ขับขี่รถด้วยความเร็ว เมื่อแตะเบรคอย่างกระทันหัน ในบริเวณนี้ ก็จะเกิดอาการท้ายปัด รถเสียการทรงตัว และไม่สามารถควบคุมรถ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ ผู้ขับขี่ ควรชะลอความเร็ว ด้วยการใช้เกียร์ต่ำ และอย่า แตะเบรคกระทันหัน ค่อยๆ เคลื่อนที่ ผ่านบริเวณดังกล่าวไป และอย่าเพิ่งใช้ความเร็วโดยกระทันหัน เพราะคราบน้ำมัน ที่เกาะอยู่กับผิวล้อ ยังไม่ทันจางหายไป ควรขับผ่านไปสักระยะหนึ่ง เมื่อแน่ใจว่า คราบน้ำมัน ที่เกาะอยู่บนผิวล้อนั้นได้จากหายไป กับพื้นถนนแล้ว ค่อยเริ่มใช้ความเร็วเพิ่มขึ้น

พื้นที่ๆ มีลูกระนาดขวางถนน
พื้นที่ เช่นนี้ มักพบในบริเวณ ตามหมู่บ้าน หรือตามซอย ที่ไม่ต้องการ ให้มีการขับขี่ ด้วยความเร็วสูง เพราะจะเป็นอันตราย กับผู้คน หรือสิ่งของละแวกนั้น ส่วนใหญ่ จะเป็นบริเวณชุมชน เมื่อขับรถผ่านลูกระนาดขวางถนน คงจะต้องลด หรือชะลอความเร็วลง จนถึงขนาดใช้เกียร์หนึ่ง ในการเคลื่อนตัวผ่าน เพราะไม่เช่นนั้น แรงกระแทกที่เกิดขึ้น ที่ล้อรถ กับบริเวณลูกระนาด อาจทำความเสียหาย ให้กับระบบช่วงล่างรถยนต์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

พื้นที่ๆ เป็นหลุมเป็นบ่อ
หมาย ถึง พื้นที่บริเวณน้ำท่วมขัง ซ่อมทาง ดินทรุด หรือบริเวณพื้นผิว ที่เป็นหลุม เป็นบ่อต่างๆ ผู้ขับขี่ ควรสังเกต บริเวณที่มีขนาดหลุมที่ตื้น และปลอดภัยที่สุด ใช้เกียร์ต่ำ ควบคุมพวงมาลัยให้ดี ค่อยๆ หย่อนล้อลงไป บริเวณขอบหลุม แล้วพยายามประคองพวงมาลัยให้มั่นคง เพราะจะเกิดแรงฝืน ที่มุมล้อต้านกับความสูง-ต่ำของหลุม หลีกเลี่ยง บริเวณที่เป็นโคลน-เลน ใช้คันเร่ง และเยียบเบรค ให้เป็นจังหวะ

พื้นที่ๆ มีทางรถไฟขวางหน้า
ให้ หลักของกฎจราจร โดยปกติ เมื่อขับรถผ่านเส้นทาง ที่มีทางรถไฟขวางถนนอยู่ ควรชะลอความเร็ว และควรหยุดรถนิ่ง ในขณะที่รถไฟ กำลังจะแล่นมา ไม่ควรเร่งความเร็วสูง เพื่อจะได้พ้นผ่านจุดดังกล่าวไป ในลักษณะของประมาท บางกรณีเช่น ค่ำคืน ดึกดื่น ยิ่งควรระวังให้มาก เพราะสิ่งที่ผู้ขับขี่มองเห็นนั้น มีเฉพาะ บริเวณด้านหน้ารถ ที่ไฟส่องสว่าง สามารถส่องไปถึงเท่านั้น แต่รถไฟ มักจะแล่นมาทางด้านข้าง ผ่านหน้าผู้ขับขี่ไป ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ ชะลอความเร็วลง มองซ้าย-ขวา ให้แน่ใจ ก่อนตัดสินใจ ขับผ่านทางรถไฟขวางถนน ซึ่งเราสามารถที่จะสังเกต เห็นป้ายสัญญาณเตือน ที่ทางราชการติดไว้ ก่อนหน้าจะถึงทางข้ามรถไฟ

พื้นที่ๆ มีความลาดชัน
เมื่อขับขี่ขึ้น ทางลาดชัน ไม่ควรใช้ความเร็วสูง และห้ามขับแซง ยิ่งเป็นบริเวณที่ลาดชัน ผสมกับเป็นทางโค้ง เช่นบริเวณทางขึ้น-ลง เขา ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวัง เป็นพิเศษ สังเกตป้ายเตือน บริเวณริมถนน เพื่อประเมินสถานะการณ์ด้านหน้าให้ดี กรณีรถติดบนทางลาดชัน เช่นรถติดไฟแดงในเมือง ควรเว้นระยะห่าง ระหว่างรถคันหน้า และรถของเรา เผื่อไว้สักระยะหนึ่ง เพราะเมื่อมีการเคลื่อนตัวออกไป รถที่อยู่บนเนิน อาจมีอาการถอยหลัง มาชน หน้ารถของเราได้ ดังนั้น จึงควรระวังตรงจุดนี้ไว้ด้วย หากเราจำเป็นต้องจอดรถบนเนินทางขึ้น ควรดึงเบรคมือไว้ เมื่อออกตัวอีกครั้ง ให้เร่งรอบเครื่องขึ้นหน่อย เข้าเกียร์แล้วออกตัว ปลดเบรคมือลง พยายามให้รถถอยหลังน้อยที่สุด
www.CarsCare.Com

เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากตอนอากาศชื้นเกิดจากอะไร ?

เครื่องยนต์สตาร์ทติดยากตอนอากาศชื้นเกิดจากอะไร ?

ในสภาพปกติทั่วๆ ไป เครื่องยนต์จะสามารถสตาร์ทติดได้เป็นปกติ หากยามใดที่ฝนตกหนัก หรือตอนเช้าที่มีอากาศเปียกชื้น
เครื่องยนต์จะมีอาการไม่ยอมติดขึ้นมาเฉยๆ และในบางครั้งที่ขับรถลุยน้ำแล้วไม่ระวัง น้ำสาดเข้าห้องเครื่องยนต์ ทำให้
เครื่องยนต์ดับ จากนั้นก็ไม่สามารถติดเครื่องได้อีก สาเหตุมาจากความชื้นเข้าไปในระบบไฟจุดระเบิด (จานจ่าย หัวเทียน คอยล์จุดระเบิด)

การแก้ไข
สามารถทำได้โดยการใช้น้ำยาครอบจักรวาล หรือน้ำยากันความชื้นที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป น้ำยาประเภทนี้
สามารถไล่ความชื้นออกจากระบบไฟได้ ใช้น้ำยาไล่ความชื้นนี้ ฉีดพ่นไปในบริเวณปลั๊กหัวเทียนด้านเครื่องยนต์ ด้านฝา
จานจ่าย และที่คอยล์ด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรถอดฝาจานจ่ายออก ซึ่งบางแบบยึดด้วยคลิปสปริงให้ใช้ไขควงสอดเข้าไปแล้วงัดออก
บางแบบยึดติดด้วยสกรูให้ใช้ไขควงขันออก เมื่อถอดออกมาให้พลิกฝาจานจ่ายขึ้น ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด แล้วฉีดพ่นด้วย
น้ำยากันความชื้น หากฝาจานจ่ายมีรอยแตกร้าวควรเปลี่ยนใหม่ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องสตาร์ทติดยากด้วยเหมือนกัน

การขับรถอย่างปลอดภัย

การขับรถอย่างปลอดภัย
การขับรถอย่างปลอดภัยขึ้นอยู่กับความรู้ 5 ประการ หรือ "หลัก 5 ร"

1. รอบรู้เรื่อง "รถ"
2. รอบรู้เรื่อง "ทาง"
3. รอบรู้เรื่อง "วิธีการขับรถ"
4. รอบรู้เรื่อง "กฎจราจร"
5. รอบรู้เรื่อง "มารยาท"

# รอบรู้เรื่องรถ นักขับรถที่ดี จะต้องรอบรู้เรื่องรถที่ขับขี่ เป็นอย่างดี หมั่นตรวจตราแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนออกเดินทางไกล ควรจะได้ตรวจอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญๆ


# รอบรู้เรื่องทาง ทางแต่ละสายย่อมแตกต่างกันไป โดยสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ถ้าเป็นเส้นทางไม่เคยไป ควรศึกษาจากแผนที่ คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง ตำรวจท้องที่ ฯลฯ ที่สำคัญจะต้องสังเกตและปฏิบัติตามป้ายและเครื่องหมายจราจร


# รอบรู้เรื่องวิธีขับรถ การขับรถเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ขับรถเป็นอย่างเดัยวไม่พอ ต้องรู้วิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยฉับพลัน และสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด เนื่องจากขาดความชำนาญ เช่น เบรกแตกจะทำอย่างไร


# รอบรู้เรื่องกฏจราจร กฎจราจรมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนประพฤติปฏิบัติไปในแนวเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็ว


# รอบรู้เรื่องมารยาทในการขับรถ มารยาทในการขับรถมีความสำคัญไม่น้อยในการใช้รถใช้ถนน นักขับที่ดี ควรแสดงความเป็นสุภาพบุรุษ อะลุ้มอล่วย เห็นใจ แนะนำ และให้อภัยต่อความผิดพลาดของผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการแสดงมารยาทที่ไม่สมควร

อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

ข้อกล่าวหา ค่าปรับ
ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร 300 บาท
ฝ่าฝืนสัญญาณมือ 300 บาท
ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย 200 บาท
ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร 400 บาท
ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียว 400 บาท
แซงรถในที่คับขัน 400 บาท
เลี้ยวหรือกลับรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม 400 บาท
กลับรถในที่คับขัน ทางร่วม ทางแยก 400 บาท
ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 200 บาท
จอดรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม 200 บาท
จอดรถซ้อนคัน 200 บาท
ไม่สวมหมวกนิรภัย 200 บาท
ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามเข้า 200 บาท
ไม่ขับรถตามทิศทางที่กำหนด (ย้อนศร) 200 บาท
เดินรถผิดช่องทางเดินรถ 400 บาท
จอดรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย 400 บาท
ใช้วัสดุกรองแสงผิดกฎหมาย 400 บาท

อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522

ข้อกล่าวหา ค่าปรับ
ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียนเสียภาษี 1,000 บาท
ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน 200 บาท
อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน 200 บาท
เปลี่ยนแปลงสภาพรถ 1,000 บาท
อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (รู้ไว้เผื่อโดนฟันเกินราคา)


ขาดต่อภาษีประจำปี 200 บาท
ไม่มีใบอนุญาติขับขี่ 200 บาท
ขับรถที่มีไว้เพื่อการขายหรือเพื่อซ่อมในเวลากลางคืน 200 บาท
ใช้รถไม่ตรงกับประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้ 200 บาท
ไม่มีสำเนาภาพถ่ายคู่มือการจดทะเบียนรถ 200 บาท
เปลี่ยนแปลงสี, เครื่องยนต์ ไม่แจ้งต่อนายทะเบียน 1,000 บาท
ใช้โคมไฟหน้า,ไฟท้าย,ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก (ไฟสปอร์ไลท์)
ผิดกฎกระทรวง 200 บาท
ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนทั้งหมดหรือบางส่วนของแผ่นป้ายทะเบียน 200 บาท
ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี 200 บาท
ไม่ติดเครื่องหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสพภัย 1,000 บาท
ท่อไอเสียเสียงดัง 1,000 บาท

รู้ไว้ก่อน : การเปลี่ยนขนาดยาง

รู้ไว้ก่อน : การเปลี่ยนขนาดยาง
-----การ เปลี่ยนขนาดยาง และกระทะล้อของผู้ขับขี่แต่ละคนนั้น อาจจะมีเหตุผลหลายประการด้วยกัน บางคนชอบขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วสูง บางคนชอบใช้ ยางซีรีส์ต่ำๆ เพื่อความสวยงาม หรือบางคนอาจจะชอบยางที่ให้ความนุ่มนวล ในการขับขี่ แต่การเปลี่ยนยางที่แตกต่างไปจากขนาดเดิมนั้น จะต้องคำนึงถึง สิ่งต่อไปนี้ คือ

<1.> ความสามารถในการรับน้ำหนัก ที่จำเป็นจะต้องใกล้เคียงกับขนาดเดิม

<2.> ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง จะต้องใกล้เคียงขนาดเดิมด้วยเช่นกัน


การเปลี่ยนแปลงขนาดยางที่ไม่ถูกต้องจะเกิดผลเสียดังนี้

ถ้าขนาดยางเล็กเกินไป
– ความสามารถในการรับน้ำหนักจะลดลง
– สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
– มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ถ้าขนาดยางใหญ่เกินไป
– ยางจะเสียดสีกับส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ
– พวงมาลัยรถหนักขณะจอดหรือที่ความเร็วต่ำ
– มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
(อัตราความคลาดเคลื่อนของมาตรวัดจากความเป็นจริง คำนวณได้จากความแตกต่างจากเส้นผ่าศูนย์กลางของยางเดิมเปรียบเทียบกับยางใหม่)

หากจะเปลี่ยนขนาดยางใหม่ ก็อย่าลืมข้อจำกัดเหล่านี้ด้วยนะครับ

ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์

ข้อควรปฏิบัติทั่วไป ในการใช้รถยนต์
การสตาร์ทรถ
ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ ก่อนสตาร์ทรถดังนี้
# ปรับเก้าอี้นั่งสำหรับขับขี่ ให้พอเหมาะ พอดีสำหรับตัวเอง นั่งสบายๆ รถยนต์บางคัน สามารถปรับเปลี่ยนมุมก้ม-เงยของพวงมาลัยได้ ให้ปรับตั้ง ในลักษณะที่พอดีกับการขับขี่ ระยะห่างจากแขน ถึงพวงมาลัย จะต้อง ยื่นแขนไปควบคุมพวงมาลัยได้อย่างพอดี ไม่ใช่เป็นการยื่นแขนตึง หรือหย่อนจนเกินไป
# ปรับตั้งกระจกมองหลัง มองข้าง ให้เข้ากับมุมมองที่เราต้องการ
# คาดเข็มขัดนิรภัย
# เลื่อนคันเกียร์ ไปอยู่ตำแหน่งเกียร์ว่าง
# สตาร์ทรถ
# เช็คระบบสัญญาณไฟ - แตร
# ทดลองเหยียบเบรค คลัทช์ (กรณีรถเกียร์ธรรมดา) ว่าใช้งานได้ตามปกติดี
# ปลดเบรคมือ
# มองตรวจสอบไปที่กระจกมองข้าง และกระจกมองหลังอีกครั้ง
# เหยียบเบรค เหยียบคลัทช์-เข้าเกียร์ 1 (เกียร์ออโต้ เหยียบเบรค-เข้าเกียร์ต่ำสุด)
# ปล่อยเท้าที่เหยียบเบรค ไปเหยียบคันเร่ง ออกตัว รถเคลื่อนที่


การแซงขึ้นหน้า

การ ขับแซงขึ้นหน้า เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง ผู้ขับขี่ ควรประเมินสถานะการณ์ และเหตุการณ์ ด้านหน้าของรถที่เราตั้งใจจะขับแซง ว่ามีรถกำลังวิ่งสวนทางมา ในเลนตรงข้ามหรือไม่ เส้นทางด้านหน้าของรถ ที่เราตั้งใจจะแซงนั้น มีความยาวเพียงใด สภาพรถที่เราขับอยู่ มีความพร้อมหรือไม่เพียงใด ความเร็วของรถด้านหน้า กับความเร็วที่เราใช้อยู่นั้น สามารถขับแซงไปได้หรือไม่ สังเกตลักษณะการขับขี่ของรถคันหน้า และคันถัดไป ว่ามีพฤติกรรมการขับ อย่างสะเปะสะปะหรือไม่ อันแสดงให้ทราบว่า ผู้ขับขี่ท่านดังกล่าว อาจมีอาการที่ไม่สามารถ ควบคุมสติ ในการประคองรถ ไปตามเส้นทางได้ (ถ้าเห็นแบบนี้ อย่าเสียงที่จะแซงดีกว่า) หลังจาก ประเมินสถานะการณ์ ความพร้อมทุกด้านแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ของเราแล้วว่า จะขับแซงหรือไม่ ตามสถานะการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้น

เมื่อจะขับรถแซงคันหน้า ควรปฏิบัติดังนี้

ให้ สัญญาณเสียงดัง เพียงพอ ที่จะบอกให้รถคันหน้าทราบว่า เรามีความประสงค์ ที่จะขับรถแซง หรืออาจใช้สัญญาณไฟ สูง-ต่ำ ในเวลาค่ำคืน ให้สัญญาณไฟกระพริบทางขวา ในจังหวะก่อนจะแซงพอสมควร
มองกระจกหลังว่า ไม่มีรถที่จะแซงซ้อนแล่นมา และด้านหน้า ไม่มีรถสวนมา เส้นทางแซงสะดวก และรถคันที่เราตั้งใจจะแซง ไม่มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ขับเบี่ยงออกทางขวา เมื่อเราให้สัญญาณที่จะแซงขวา หรือแกล้งเพิ่มความเร็ว ในขณะที่เราตั้งใจจะแซง ฯลฯ คงต้อง พิจารณา ตัดสินใจให้ดี
หากเหตุการณ์ ปกติดี ก็เพิ่มความเร็ว แซงรถคันหน้า แล้วกลับเข้าเลน ตามปกติ ไม่ควรกลับเข้าเลน ในระยะกระชั้นชิด ในลักษณะขับปาดหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
นอกจากนั้น การขับแซงรถคันหน้า ที่อยู่ในสภาวะกำลังชะลอความเร็วลงอย่างมาก หรือจอดนิ่งอยู่กับที่นั้น ให้ระวังสิ่งที่อาจอยู่ด้านหน้า ของรถที่เราตั้งใจจะแซง เช่นอาจมีคนกำลังเดินข้ามถนน รถคันหน้าจึงชะลอความเร็วลง หรือ อาจเป็นไปได้ว่า มีผู้คนกำลังยืนรอ หรือมีเด็กๆ กำลังเล่นด้านหน้ารถ ที่จอดนิ่งอยู่กับที่ ดังนั้น ผู้ขับขี่ ควรชะลอ ความเร็วลง และให้สัญญาเสียง หรือไฟสูง-ต่ำ (ยามค่ำคืน) กับเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าว ที่สำคัญคือ ชะลอความเร็วลง และใช้ความระมัดระวัง เป็นอย่างสูง เพื่อผ่านพ้นจุดดังกล่าวไปได้แล้ว ค่อยพิจารณา ที่จะแซงรถคันหน้าอีกครั้ง

การถูกแซงขึ้นหน้า เมื่อได้รับสัญญาณจากรถคันที่อยู่ด้านหลัง ควรปฏิบัติดังนี้

ชะลอความเร็วลง ขับไปตามทาง ตามเลนของตัวเอง
หาก เป็นลักษณะถนนที่ว่าง โล่ง และไม่มีรถมากมาย ให้พิจารณาว่า เลนซ้ายมีรถ ขับเทียบเคียงกับเรา หรือห่างกับด้านที่เรากำลังขับอยู่ มากน้อยเพียงใด เมื่อปลอดภัยดี ควรขับเบี่ยงซ้ายนิดหน่อย เปิดโอกาส และแจ้งให้รถที่กำลังจะแซงทราบว่า เราพร้อมที่จะให้แซงแล้ว
การขับขี่ตาม กฎจราจร จะช่วยได้มากคือ หากขับขี่ช้า ควรอยู่เลนซ้าย ขับขี่เร็ว อยู่เลนขวา ถ้าทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามกฎจราจรแล้ว จะช่วยลดอุบัติเหตุได้มาก

การชะลอความเร็ว

การ ชะลอความเร็วนั้น สามารถใช้วิธีถอนคันเร่ง วิธีเหยียบเบรค วิธีลดรอบเครื่อง โดยการเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำ จนถึงการใช้เบรคมือ เข้าช่วยในบางกรณี ดังนั้น ผู้ขับขี่ ควรพิจารณา ให้วิธีชะลอความเร็วแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์การขับขี่ ประสบการณ์การขับขี่ จะช่วยได้มาก ซึ่งหากยึดหลักปฏิบัติตามกฎจราจรแล้ว ก็จะมีความปลอดภัยสูง ช่วยลดอุบัติเหตุได้มาก

การถอยหลัง

การ ถอยหลัง เป็นการขับขี่อีกวิธีหนึ่ง ที่จะต้องพิถีพิถัน โดยเฉพาะ การถอยหลังเข้าที่จอดรถ โดยปกติ การถอยหลัง จะทำด้วยความเร็วต่ำ ขับข้าๆ จะทำให้การหมุนพวงมาลัยได้ผลดี เมื่อจะหมุนพวงมาลัย ควรให้รถ มีการเคลื่อนที่นิดหน่อย เพราะจะช่วยลดการเบียดเสียดสี ระหว่าง หน้ายางกับพื้นถนน การถอยหลัง จะใช้หลักว่า ต้องการให้ท้ายของรถยนต์หันไปทางใด ก็ให้หมุนพวงมาลัย ไปทางนั้น เช่น ต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปด้านซ้าย ก็หมุนพวงมาลัยไปด้านซ้าย ต้องการให้ท้ายรถเลี้ยวไปด้านขวา ก็หมุนพวงมาลัยไปทางด้านขวา ผู้ขับขี่ อาจหันไปมองท้ายรถ เพื่อประมาณระยะการถอย ได้ตามต้องการ เช่น ในรถยนต์ ประเภทพวงมาลัยอยู่ขวา (รถยนต์ทั่วไปในประเทศไทย) สามารถใช้มือขวา ควบคุมพวงมาลัย แล้วใช้แขนซ้าย อ้อมไปจับด้านบนของหลังเบาะ ที่อยู่ด้านข้างคนขับ วิธีนี้ จะทำให้ การหันคอไปมองท้ายรถ ทำได้สะดวก ขณะเดียวกัน ควรประเมินมิติ (ขนาด) ของรถ และขนาดช่องว่างพื้นที่ๆ จะนำรถเข้าจอด พร้อมด้วยช่องว่าง ที่เหลือ เพื่อการหักเลี้ยวใดๆ ด้วย

การสลับยาง

การ สลับยาง เป็นสิ่งที่ช่วยยืดอายุ การใช้งาน ของยาง ให้นานขึ้น ผู้ขับขี่ มีพฤติกรรมการใช้รถแต่ละคันไม่เหมือนกัน บ้างก็ขับขี่แบบมืออาชีพ บ้างก็ขับขี่แบบลุย บ้างก็ขับขี่แบบทนุถนอม ระยะเวลาการสลับยาง จึงไม่ได้ระบุไปตายตัวว่า จะต้องใช้งานไปนานเท่าใด แล้วจึงสลับยาง ซึ่งคงต้องศึกษาและปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถยนต์แต่ละรุ่นไป แต่เราอาจใช้หลักคร่าวๆ ด้วยระยะทางประมาณ 15,000 กิโลเมตร ต่อการสลับยางสักครั้ง วิธีสลับยาง จะแสดงโดยรูปด้านล่าง
ยางเรเดียล บางรุ่น มีตัวอักษรระบุไว้ข้างยางว่า "ROTATION" เป็นการบอกให้ทราบว่า จะต้องติดตั้งยาง เพื่อหมุนในทิศทางใด เพราะจะมีผลต่อการรีดน้ำ เมื่อขับบนพื้นผิวทางที่มีน้ำขัง

การลากรถ

การลากรถ ถือเป็นวิธีการสุดท้าย หลังจากไม่สามารถขับเคลื่อนรถต่อไปได้ เมื่อจำเป็นต้องลากรถ ควรหาวัสดุที่ทนทานต่อแรงฉีกขาด เช่นใช้เชือก สำหรับลากรถ ด้านหนึ่ง ผูกเข้ากับ ท้ายรถที่ทำหน้าที่ลาก ไม่ควรผูกเชือก ไว้กับกันชน แต่ควรผูกยึดไว้กับส่วนที่แข็งแรง ของชิ้นส่วนโครงรถ หรือผูกไว้กับโลหะ เฉพาะที่ทำเป็นตะขอยึดเกี่ยวกับเชือกลากรถ ทางด้านรถที่ถูกลาก ควรผูกเชือกไว้กับ เหล็กตะขอ ที่ทำสำหรับไว้ลากรถโดยตรง หรือผูกยึดติดกับส่วนสำคัญของโครงรถเช่นกัน
ควร เว้นระยะห่างระหว่างรถลาก และรถที่ถูกลาก ห่างกันประมาณ 5 เมตร ช่วงกลาง ของเชือกที่ลาก จะต้องใช้ผ้าสีแดง หรือธงสีแดง ผูกแสดงไว้ เพื่อเป็นที่สังเกตได้ชัดเจน ระหว่างผู้ลาก และผู้ถูกลาก ควรตกลงทำความเข้าใจ ถึงการให้สัญญาณกันทั้งสองฝ่าย รถที่ถูกลาก จะต้องปลดเบรคมือ พร้อมทั้งปรับเกียร์ไปอยู่ตำแหน่งเกียร์ว่าง และบิดกุญแจสตาร์ทไปอยู่ในตำแหน่ง OFF เปิดไฟฉุกเฉิน หรือไฟใหญ่หน้ารถ (ในยามค่ำคืน) หากมีเศษกระดาษแข็งขนาด ใหญ่พอสมควร ควรเขียนคำว่า "รถลาก" แล้วห้อยติดอยู่กับท้ายรถที่ถูกลาก เพื่อให้รถคันอื่น ได้มองเห็นได้ถนัด
รถ ที่ทำหน้าที่ลาก ควรออกตัวด้วยความนิ่มนวล และต้องส่งสัญญาณให้รถคันที่ถูกลาก ทราบทุกครั้ง เช่น ตอนขับเปลี่ยนเลน เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เป็นต้น ที่สำคัญคือ ประคับประคองให้รถวิ่งไปตามเส้นทางโดยไม่สะดุด รักษาความเร็วคงที่ ไปเรื่อยๆ พยายาม ให้เชือกที่ใช้ลาก มีความตึงอยู่ตลอดเวลา หากเมื่อใดที่เชือกหย่อน และรถคันหน้า เร่งความเร็วขึ้นไม่สัมพันธ์กับความเร็ว ของรถที่ถูกลาก ก็จะเกิดการกระตุก และกระชาก อาจทำให้เชือกขาดได้ เมื่อรถที่ถูกลาก ไม่มีการสตาร์ทเครื่องให้เครื่องยนต์ทำงาน ที่หม้อลมเบรค ก็จะไม่สามารถเก็บสุญญากาศได้ ผู้ขับขี่จะสามารถจะสามารถ เหยียบเบรคด้วยความนิ่มนวลได้เพียงแค่ ครั้ง หรือ 2 ครั้ง เท่านั้น จากนั้น เบรคจะแข็ง ต้องออกแรง เหยียบเบรคมากเป็นพิเศษ ดังนั้นหากผู้ขับขี่ด้านรถที่ถูกลาก ต้องการชะลอความเร็ว ก็อาจใช้วิธี เหยียบเบรคย้ำ หลายๆ ครั้ง ซึ่งต้องออกแรงมากเป็นพิเศษ และต้องประคับประคอง ให้เชือก มีความตึงอยู่ตลอดเวลาด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความตั้งใจ และสติในการควบคุม ลักษณะการควบคุม ดังกล่าวอย่างระมัดระวัง สำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ควรติดต่อบริษัทลากรถ มาทำการลากรถดีกว่า เนื่องจาก บริษัทลากรถ จะมีอุปกรณ์ยกล้อ ให้ลอยเหนือพื้น และไม่ต้องใช้เชือกลาก สามารถลากรถไปด้วยความเร็ว มากขึ้นได้ เนื่องจากรถที่ใช้ชุดเกียร์อัตโนมัติ จะใช้น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ทำให้เกิดการขับเคลื่อน เมื่อเครื่องยนต์ไม่ทำงาน น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ จะไม่หมุนเวียน หากลากรถไป ในระยะทางไกลๆ จะเกิดความเสียหาย กับชุดเกียร์ได้

ภัยรายวัน จาก เกียร์ถอย

ภัยรายวัน จาก เกียร์ถอย


เตือนผู้ที่ขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หรือเกียร์ออโต้ ไม่ว่าจะเป็นรถญี่ปุ่น ยุโรป หรืออเมริกัน ระวัง!!! เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ‘เกียร์ทำงานผิดปกติ’ ถอยหลังเพียงอย่างเดียวอาจเกิดขึ้นกับคุณได้ทุกเมื่อ

อาการดัง กล่าวเกิดขึ้นในขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน ไม่ว่าผู้ขับจะเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P (จอดสนิทไม่สามารถเคลื่อนที่, N (เกียร์ว่าง) หรือ D เดินหน้าระดับใดก็ตาม รถก็จะถอยหลังเพียงอย่างเดียว

การเหยียบคันเร่ง เพิ่มความเร็ว ก็ยิ่งส่งให้รถถอยหลังแรงขึ้นเท่านั้น ส่วนเบรกมือก็ไม่สามารถชะลอความเร็ว หรือทำให้รถหยุดนิ่งได้ นอกเสียจากการดับเครื่อง

ผู้ประสบเหตุ ขับรถยนต์ส่วนตัวคันหรูที่เพิ่งถอยออกจากอู่ เพราะนำไปตรวจสภาพตามระยะทาง ผลการตรวจไม่มีส่วนใดผิดปกติ หรือชำรุดแต่อย่างใด

เมื่อเขาขับเข้าไป ยังลานจอดรถแห่งหนึ่ง ขณะที่กำลังจะถอยหลังเข้าจอด แต่รถยังไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เขาจึงเปลี่ยนเกียร์เดินหน้า เพื่อตั้งลำรถปรับทิศทางให้ตรง

ขณะนั้นเขาเหยียบคันเร่งเพียงเบาๆ และพบว่ารถไม่เดินหน้า แต่กลับถอยหลัง เขาก้มหน้ามองที่เกียร์อีกครั้งเพื่อความแน่ใจ แต่เกียร์ก็อยู่ในตำแหน่งเดินหน้า

เมื่อไม่สามารถเดินหน้าได้ เขาจึงค่อยๆ ถอยด้วยความระมัดระวัง แต่อยู่ๆ ความแรงของรถก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รถถอยพุ่งชนกำแพงด้านหลัง ซึ่งการชนทำให้รถหยุดเคลื่อนที่ เขาจึงรีบดับเครื่องและลงจากรถ

หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับคุณ ช่างซ่อมรถยนต์ แนะนำการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ตั้งสติให้ดี เหยียบเบรกลึกที่สุด เปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P หรือ N จากนั้นเปลี่ยนกลับไปที่ตำแหน่ง D อย่าพยายามเร่งความเร็ว หากรถยังไม่ยอมเดินหน้า ควรดับเครื่องยนต์ และตามช่างฯ มาตรวจสอบความผิดปกติโดยเร็ว เพราะการทำงานผิดปกติของเกียร์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ.

การบำรุงรักษาและตรวจเช็คประจำวันรถยนต์คู่ใจ ควรทำอย่างไร

การบำรุงรักษาและตรวจเช็คประจำวันรถยนต์คู่ใจ ควรทำอย่างไร

การดูแลสุขภาพรถและเช็คสภาพตามกำหนดระยะทาง จะเป็นรายละเอียดต่อจากครั้งที่แล้ว
โดยจะเริ่มต้นที่ระยะการเช็คสภาพรถยนต์ที่ 60,000 กม. เป็นต้นไป

1. ตรวจระดับและคุณภาพของน้ำมันเครื่อง
- น้ำมันเครื่องจะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด
- น้ำมันเครื่องใสเกินไปหรือไม่
- น้ำมันเครื่องมีน้ำปนหรือไม่
- น้ำมันเครื่องสกปรกมากหรือไม่
- น้ำมันเครื่องมีเศษผง หรือเศษโลหะเจือปนอยู่ หรือไม่

2. ตรวจรอยรั่วน้ำมันและอุปกรณ์ในห้องเครื่องยนต์
- ตรวจรอยรั่วของน้ำมันต่างๆ ตามท่อทางเดินหรือสังเกตพื้นรถที่จอดอยู่
- ตรวจความตึงของสายพานปั๊มน้ำ
- ตรวจชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ หลวมคลอนหรือไม่
- ตรวจสายไฟและปลั๊กต่อสายไปหลุดหลวมหรือไม่

3. ตรวจและเติมน้ำหล่อเย็น
- ตรวจท่อน้ำ และการรั่วของน้ำหล่อเย็น
- ตรวจน้ำในหม้อน้ำ ควรต่ำกว่าคอหม้อน้ำ 20 ม.ม.
- เติมน้ำในหม้อพักน้ำไม่เกินขีดบน
- ใช้น้ำสะอาดเติมเท่านั้น อย่าใช้น้ำกระด้าง หรือน้ำด่างแทนน้ำสะอาด

4. ตรวจระดับน้ำมันเบรก และคลัตช์
- ตรวจดูระดับน้ำมันเบรก และคลัตช์ต้องอยู่ในระดับ
- ถ้าน้ำมันต่ำกว่าขีดต่ำสุดให้เติมถึงขีดสูงสุด

5. ตรวจแบตเตอรี่
- ตรวจดูระดับน้ำกรดแบตเตอรี่ต้องอยู่ในระดับ
- ถ้าระดับน้ำกรดต่ำกว่าขีดล่างต้องเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับขีดบน
- ตรวจดูรูระบายอากาศที่ฝาปิดแบตเตอรี่ ต้องไม่อุดตัน
- ขั้วแบตเตอรี่ต้องสะอาด และสายไฟที่มาต่อที่ขั้วต้องแน่น

6. การใช้และการตรวจสอบยาง
- น็อตยึดล้อต้องไม่คลายตัว และกะทะล้อต้องไม่ชำรุด
- ที่เติมลมยางทุกเส้นต้องมีฝาปิดกันสิ่งสกปรกเข้า

7. ตะกั่วถ่วงล้อต้องไม่หลุดจากกะทะล้อ

8. ตรวจสภาพการสึกหรอของดอกยาง

9. ตรวจลมยางด้วยเกจ์วัดลมอย่างน้อยเดือนละครั้ง

10. ตรวจเช็คประจำวันดูลักษณะของยางตอนที่กดลงบนพื้น

11. ตรวจดูการรั่วของลมยางที่จุ๊บเติมลง หรือตามตำแหน่งที่ถูกตะปูหรือสิ่งอื่นฝังอยู่ในเนื้อยาง

12. การเปลี่ยนยางเส้นใหม่ จงใช้ยางที่มีขนาดและโครงสร้าง เหมือนกับยางที่ติดรถมา
และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน หรือดีกว่า

ไฟฉุกเฉิน ไม่จำเป็นและไร้สาระ

ไฟฉุกเฉิน ไม่จำเป็นและไร้สาระ
มี การปฎิบัติกันเพราะความเข้าใจผิดๆ ทั้งคิดเอง มองเห็นผู้อื่นทำ คนใกล้ตัวแนะนำ รวมถึงคนไกลตัวแบบสื่อมวลชน เช่น บางรายการวิทยุส่งเสริม หลายคนเข้าใจผิดว่า เปิดไฟฉุกเฉินขับรถกลางฝน แล้วจะทำให้คนอื่นมองเห็นได้ดีขึ้น แม้มองเห็นชัดขึ้นก็จริง แต่ผลเสียที่ตามมามีมากมาย เช่น


เกิดความชะล่าใจ ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะเมื่อชะล่าใจก็จะเกิดความมั่นใจในการขับรถมากขึ้น คิดไปเองว่าเมื่อเปิดไฟฉุกเฉินแล้วคนอื่นเห็นชัด ตนเองก็จะขับรถใช้ความเร็วได้สูงขึ้น เพราะคนอื่นกลัวจะเข้ามาชน น่าแปลกที่มักเห็นว่าเมื่อฝนตกหนักหากรถคันใดที่เปิดไฟฉุกเฉินแล้วก็จะขับใน เลนกลางหรือขวา ใช้ความเร็วสูงกว่าที่เหมาะสม อีกทั้งยังเปลี่ยนเลนไปมา ในขณะที่คันที่ไม่เปิดไฟฉุกเฉินจะขับสงบเสงี่ยมในเลนซ้ายหรือกลางด้วยความ เร็วต่ำๆ

# แสบตาผู้อื่นจากแสงไฟกระพริบ เพราะมักไม่ได้มีคันเดียวที่เปิดไฟฉุกเฉิน ยิ่งหลายคันเปิดเต็มถนน ก็ยิ่งลายตา

# ไม่มีไฟเลี้ยวใช้ วิธีขับรถที่ถูกต้อง คือ ต้องเปิดไฟเลี้ยวเตือนผู้อื่นล่วงหน้า (แม้บางคนบอกว่าไม่จำเป็นก็ตาม) บางคนมือไวปิดไฟฉุกเฉินก่อนเปิดไฟเลี้ยว แต่ก็เสียสมาธิในการขับรถลงไป และผู้ขับรถคนอื่นก็ไม่ได้มีหน้าที่ต้องจ้องว่า รถคันใดที่เปิดไฟฉุกเฉินแล้วปิดก่อนจะเปิดไฟเลี้ยว

# ผู้อื่นอาจเห็นเป็นไฟเลี้ยว เพราะมีรถคันอื่นบังหรือมองผ่านๆ ยิ่งถ้ามีรถเปิดไฟฉุกเฉินขับติดๆ กัน แล้วมีบางคันเปิดไฟเลี้ยว ก็ยิ่งยากต่อการแยกแยะ ความสับสนย่อมลดความปลอดภัยลง

# สับสนรถแล่นกับรถจอดค้างบนถนน เป็นมาตรฐานเมื่อรถจอดเสียหรือเกิดอุบัติเหตุบนนถนนว่าต้องเปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อเตือนผู้อื่น แต่พอมีรถที่แล่นอยู่เปิดไฟฉุกเฉินติดๆ กันหลายคัน ก็คุ้นเคย พอเจอรถจอดและเปิดไฟฉุกเฉิน กว่าจะแยกออกว่าเป็นรถจอดหรือแล่น ก็ต้องใช้เวลาเป็นเสี้ยววินาทีทำความเข้าใจ และอาจชนเข้ากับรถที่จอดอยู่ ไม่ยุติธรรมเลยสำหรับผู้ที่ทำถูกต้อง จอดค้างบนถนนแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน ผู้ที่เปิดไฟนี้แล้วขับรถ อย่ามาอ้างว่าทุกคนสามารถตัดสินใจได้เร็วว่ารถคันใดจอดหรือแล่นในขณะที่เปิด ไฟฉุกเฉิน เพราะลึกๆ แล้วคนส่วนใหญ่จะนึกว่า ไฟฉุกเฉินจะถูกเปิดใช้เมื่อฉุกเฉินตามชื่อ หรือรถจำเป็นต้องจอดค้างอยู่บนถนน

ควรจะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่ ?


ควรจะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่


กรณีที่ 1 เมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถยางระเบิดในขณะขับรถ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
1. มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
2. ถอนคันเร่งออก
3. ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจมองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
4. แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะว่า จะทำให้รถหมุน
5. ห้ามเหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาดเพราะถ้าเหยียบคลัตช์รถจะไม่เกาะถนนรถจะลอยตัวและจะทำให้บังคับรถได้ยากยิ่งขึ้น
อาจเสียหลักเพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ ให้ขาดจากเพลา
6. ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาด จะทำให้รถหมุน
7. เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้วให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
8. เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ
ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิดล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม
เมื่อระเบิดด้านซ้าย รถก็จะแฉลบไปด้านซ้ายก่อน แล้วก็จะสะบัดกลับ
และสะบัดไปด้านซ้ายอีกที สลับกันไปมา และในทำนอง ตรงกันข้าม
หากระเบิดด้านขวาอาการก็จะ กลับเป็นตรงกันข้ามอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นส่วนมากก็คือ
หากขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิด ขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ทำอะไรไม่ได้
ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้
เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น ในขณะขับรถ จึงไม่ควรขับรถเร็ว
( ความเร็วทีถือว่าปลอดภัยใน DEFENSIVE DRIVING คือ ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง)


กรณีที่ 2 เมื่อรถตกน้ำ
ในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุแล้วตกลงไปในแม่น้ำ ลำคลองใดๆ ก็ตาม
รถจะไม่ตกลงไปใน น้ำแล้วจมทันที เหมือนหิน ตกน้ำ แต่จะค่อยๆ
จมลงทีละน้อยๆ จนกว่าจะถึง พื้นล่างและในนาทีวิกฤตนี้


ควรตั้งสติให้ดีและปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ปลด SAFETY BELT ออกทุกๆคน รวมทั้งผู้โดยสารด้วย
2. อย่าออกแรงใดๆ เพื่อสงวนการใช้อากาศหายใจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนจำกัด
3. ให้ยกส่วนศีรษะให้สูงเหนือระดับน้ำที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในรถ
4. ปลดล็อกประตูรถทุกบาน
5. หมุนกระจกให้น้ำไหลเข้าในรถเพื่อปรับความดัน!
ในรถและนอกรถให้เท่ากันมิฉะนั้นท่านจะเปิด
ประตูรถไม่ออก เพราะน้ำจากภายนอกตัวรถจะดันประตูไว้
6. เมื่อความดันใกล้เคียงกันแล้วให้ผลักบานประตูออกให้กว้างสุด
แล้วท่านก็ออกจากห้องโดยสารของ รถได้
7. จากนั้นท่านอาจจะปล่อยตัวให้ลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติ
หรือจะว่ายน้ำขึ้นมาก็ได้ ในกรณีนี้หาก น้ำลึกมากๆอาจจะมองไม่เห็นว่า
ทิศใดเหนือน้ำ ทิศใดใต้น้ำเพราะว่า มืดไปหมดไม่ควรใช้วิธีว่ายน้ำ เพราะอาจจะว่าย ไปในทิศทางที่ไม่ขึ้นเหนือน้ำ
กรณีเช่นนี้ ควรปล่อยตัวให้ลอยขึ้นตามธรรมชาติ หรือ ลองเป่าปากดูว่า ฟองอากาศลอยไปในทิศทางใด
ให้ว่ายน้ำไปในทิศทางที่ฟองอากาศลอยไป ก็จะไม่มี อาการ หลงน้ำ
นอกจากนั้น ก่อนออกจากรถ หากท่านมีผู้โดยสารที่เป็นเด็กๆ อาจจะหนีบ เด็กๆ นั้น
ออกมากับท่านได้อีกหนึ่งคน ดังนั้นหากท่านปฏิบัติ ตามวิธีการเหล่านี้
ก็จะช่วยให้ชีวิตของท่าน ปลอดภัยได้ ในยามคับขัน

ฟิล์มกรองแสง ติดดี หรือ ไม่ติดดี มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ทีคำตอบ

ฟิล์มกรองแสง ติดดี หรือ ไม่ติดดี มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ทีคำตอบ

คุณ ประโยชน์ของฟิล์มกรองแสงที่เราทุกคนทราบแน่นอนก็คือ ติดแล้วช่วยลดความร้อนจากแสงแดดที่จะเข้ามาในตัวรถ สิ่งนี้ไม่ใช่การป้องกัน เพราะโดยหลักของการคิดค้นฟิล์มกรองแสงขึ้นนั้น ฟิล์มกรองแสงต้องเป็นวัสดุที่ใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

วัสดุ ที่นำมาผลิตฟิล์มกรองแสง เป็นแผ่นโพลีเอสเตอร์ ที่มีคุณสมบัติทั้งเรื่องทนความร้อน ทนทาน ดูดซับความชื้นน้อย ยืดหยุ่นสูง นำมาเคลือบด้วยชั้นฟิล์ม ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสี กาว โลหะ สารกันลอยขีดข่วน สารดูซับรังสียูวี

ชั้นฟิล์มที่นำมาเคลือบนี่ แหล่ะ จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงคุณประโยชน์ และคุณภาพของฟิล์มกรองแสงแต่ละชนิด แต่โดยหลัก ๆ แล้ว สิ่งที่เราได้ประโยชน์จากฟิล์มกรองแสงก็คือ

- ช่วยลดความร้อนและป้องกันรังสียูวีจากแสงอาทิตย์

- ในอดีตหรือแม้ปัจจุบันที่มีกฎหมายกำหนดความทึบของฟิล์ม เราจะพบว่า การติดฟิล์มทึบๆ สามารถสร้างความเป็นส่วนตัวได้ในบางครั้ง

- แสงที่ผ่านเข้าห้องโดยสารลดลง ทำให้มุมมองของสายตาดีขึ้น

- การลดความร้อนที่ผ่านเข้ามายังห้องโดยสาร ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักเกินความจำเป็น สิ่งนี้ยังเป็นผลสะท้อนไปถึงการลดภาระของการทำงานของเครื่องยนต์ด้วย

- ความร้อนและแสงยูวีที่ผ่านเข้ามาลดลง ช่วยยึดอายุวัสดุและอุปกรณ์ภายในรถ โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก และหนัง

- ในบางครั้ง ฟิล์มกรองแสงยังเป็นตัวยึดเหนี่ยวกระจกไม่ให้แตกกระจาย ขณะเกิดการชน

เรา เห็นแล้วว่า คุณประโยชน์ของฟิล์มกรองแสงนอกจาก ทางตรงคือ ลดความร้อนและป้องกันแสงยูวีแล้ว ยังมีประโยชน์ทางอ้อมอีกหลายประการ แต่ทั้งนี้ ศักยภาพในการทำงานของฟิล์มกรองแสงยังขึ้นกับคุณภาพของฟิล์มกรองแสงรวมถึงการ ติดตั้งด้วย

การเลือกฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพ หลักการที่งายที่สุดก็คือ การเลือกซื้อและติดตั้งฟิล์มกรองแสงจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง มีมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการรับรอง มีใบรับประกันคุณภาพที่ชัดเจน ซึ่งโดยปกติแล้ว การปรับประกันฟิล์มกรองแสงจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 ปี

การ เลือกซื้อฟิล์มกรองแสงชื่อดัง ยี่ห้อที่มีความชำนาญด้านนี้จริง ๆ คงไม่ใช่เรื่องยากมากนัก แต่ปัญหามักจะอยู่ที่การติดตั้ง เพราะการจำหน่ายและการติดตั้งฟิล์มกรองแสงมักจะอยู่ในรูปแบบของตัวแทน จำหน่าย ที่มีเป็นจำนวนมากทั้งตัวแทนจริง ๆ และร้านค้าที่เปิดให้บริการอิสระ หากเราต้องการทราบให้ชัดเจนว่า ฟิล์มกรองแสงที่ทางร้านค้าจะมาติดตั้งให้เรานั้นเป็นของจริงหรือไม่ ก็สามารถให้ทางร้านค้าอธิบายถึงตราสินค้าบนไลเนอร์ได้ ถือว่าไม่เป็นการผิดกติกา

สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ หลังการติดตั้งฟิล์มกรองแสง เราต้องได้รับเอกสาร 3 ตัว นั่นก็คือ

บัตรลงทะเบียนใบรับประกันคุณภาพ
ก็ เหมือนเราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าน่ะแหล่ะครับ โดยเอกสารนี้จะมี 3 ส่วน ส่วนหนึ่งร้านค้าจะเก็บไว้ อีกส่วนให้ลูกค้าเก็บ และอีกส่วนเป็นใบให้เรากรอกเพื่อส่งกลับไปยังผู้ผลิต ส่วนใหญ่ใบที่เราต้องกรอกส่งให้ผู้ผลิตจะต้องทำภายใน 15 วัน

ใบรับรองการติดตั้งฟิล์มกรองแสงรถยนต์
ใบ นี้สำคัญนะครับ ไม่ใช่แค่บอกว่ารถเราติดฟิล์มแล้ว เพราะเรื่องนี้มองดูก็รู้ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีการกฎหมายให้ติดฟิล์มกรองแสงที่แสงต้องรอดผ่านได้ 40% เกิดจับพัดจับผู ถูกเรียกตรวจจะได้มีใบนี้ยืนยัน

เพื่อความสบายใจ เราสามารถให้ทางร้านค้าทดสอบการผ่านของแสงได้ อย่าให้ทางร้านทดสอบโดยผ่านฟิล์มเพียงอย่างเดียว ควรทดสอบหลังจากมีการติดตั้งฟิล์มเรียบร้อยแล้ว เพราะตัวกระจกรถเองมีการลดทอนแสงและหักเหของแสงบางส่วนอยู่แล้ว ตามกฎหมายกำหนดชัดเจนนะครับว่า แสงที่ผ่าน 40% เป็นแสงที่วัดผ่านกระจกที่ติดฟิล์มกรองแสง และสิ่งที่ควรจำอีกประการหนึ่งก็คือ อย่าใช้หรือเชื่อกับวิธีทดสอบที่เอาไฟสปอร์ตไลท์มาจ่อกับฟิล์มให้ดู นอกจากไม่ได้อะไรแล้ว เพราะบอกตัวเลขอะไรไม่ได้ ความร้อนของสปอร์ตไลท์ยังจะทำให้ฟิล์มเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นอีกด้วย

ใบรับประกันคุณภาพ
เป็นใบที่เราจะได้รับหลังจากส่งใบที่เรากรอกกลับไปยังผู้ผลิตประมาณ 1 เดือน เป็นใบรับประกันคุณภาพที่ออกโดยผู้ผลิตนั่นเอง
สำหรับ ในเรื่องราคาของฟิล์มกรองแสงนั้น ไม่ต่างไปจากเรื่องของราคายางรถยนต์ เพราะฟิล์มกรองแสงมีหลายคุณลักษณะมาก ขึ้นอยู่กับฟิล์มที่นำมาเคลือบว่าประกอบด้วยสารอะไรบ้าง ยิ่งฟิล์มคุณภาพสูง ๆ ประเภท ใสแจ๋วเลย แสงผ่านได้มาก แต่กลับลดความร้อนได้สูง ก็จะมีราคาสูงกว่าฟิล์มประเภททึบ ๆ ทึม ๆ แต่ผ่านตามกฎหมายกำหนด ก็อยู่ที่เราเดินเข้าไปในร้านค้าและเลือกหาเอาล่ะครับ ว่าเราจะยอมจ่ายมากน้อยแค่ไหน และส่วนใหญ่ค่าบริการติดตั้งจะคิดแยกออกมาต่างหาก

คุณภาพและการรักษา
การ หมดอายุใช้งานของฟิล์มกรองแสงก่อนกำหนด บ่อยครั้งเกิดจากคุณภาพในการติดตั้งที่ต่ำหรือผิดวิธี และหลาย ๆ ครั้งเกิดจากการไม่เอาใจใส่ดูแลของเจ้าของรถหรือดูแลอย่างผิดวิธี…เรามา เรียนรู้ในการที่จะสังเกตคุณภาพการติดตั้งและการบำรุงรักษากัน
การ เลือกฟิล์มกรองแสงดูจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นเท่าไร เนื่องด้วยวิธีการตรวจสอบฟิล์มคุณภาพนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แต่การหาร้านค้าที่มีช่างผู้ชำนาญพร้อมที่จะติดตั้งฟิล์มกรองแสงให้ใช้งาน ได้เต็มประสิทธิภาพกลับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่า

ปัญหาใหญ่ก็คือ เราจะทราบกันได้อย่างไรว่า รถของเราได้รับการติดตั้งฟิล์มกรองแสงโดยวิธีที่ไม่ถูกต้องและไม่มีคุณภาพเอาเสียเลย

1. โดยความเป็นจริงเราไม่สามารถทราบได้เลยว่า วัสดุที่ช่างนำมาติดตั้งให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดต่อคุณภาพ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดก็คือ การใช้สายตาสังเกตดูฟองอากาศ คราบน้ำขัง ฝ้า คราบมัว หรือภาพที่บิดเบือนมาก

2. เดินดูกระจกรอบรถทุกบานเพื่อดูว่ามีการบิดเบือนของภาพมากน้อยเพียงใด และยอมเสียเวลาอีกนิดเข้าไปในรถเพื่อดูออกมาข้างนอกอีกครั้งหนึ่ง

3. แน่นอนว่า การติดตั้งฟิล์มกรองแสง ไม่ได้กระทำกันในห้องปราศจากฝุ่น และสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ดังนั้น ควรตรวจสอบดูว่าในระยะ 5 เซนติเมตรจากขอบมีอะไรบ้างและติดมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่มากก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้

4. เราสามารถสังเกตอะไรได้บ้าง ก็ดูกันหมดล่ะครับ ตั้งแต่เศษผง แมลง เส้นผม ขอบฟิล์มล่อน ลอยนิ้วมือ รอบขีดข่วน รอบฉีก รอยหัก ดูให้หมด อย่าให้มากจนน่าเกลียด

5. ปกติแล้ว การติดตั้งฟิล์ม จุดที่เริ่มติดฟิล์มไม่ควรจะห่างจากบริเวณขอบเกิน 1-4 มม. แต่ถ้าหากเป็นฟิล์มเข้มไม่ควรจะห่างเกิน 2 มม.

6. การตรวจตราลอยต่อของฟิล์มกรองแสง ปกติในส่วนที่ความโค้งมาก ๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำเป็นต้องมีรอยต่อของฟิล์มแน่นอน แต่หากสังเกตเห็นพบว่าบางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องมีรอยต่อแต่กลับมีขึ้นมา ก็คงต้องซักถามกับช่างและให้แก้ไข

7. หลังจากติดตั้งไป 1-7 วัน อาการอย่างพวกฟองอากาศไม่หาย ก็ให้รีบกับไปที่ร้านค้าเพื่อทำการแก้ไขทันที

การ ติดตั้งฟิล์มไม่มีความยุ่งยาก แต่ค่อนข้างมีความละเอียดอ่อน ปกติการติดตั้งจะต้องใช้น้ำผสมแชมพูแบบอ่อน ๆ ฉีดไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่จะติดตั้ง ขยับฟิล์มให้เข้าที่แล้วจึงค่อยรีดน้ำออกด้วยเครื่องมือ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวนี้ เป็นที่มาของน้ำขัง อาการมัว หรือเป็นฝ้า โดยทั่วไป 1-4 สัปดาห์ก็จะหาย

ในช่วง 1-2 สัปดาห์ จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะกาวยังไม่แห้งและฟิล์มยังไม่แนบกับผิวของกระจก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับกระจกในลักษณะเสียดสีรุนแรงมากเกินไป หากรถคุณเป็นกระจกไฟฟ้า ให้ล็อกปุ่มเลื่อนขึ้นลงของผู้นั่งร่วมทางทุกบาน รวมถึงปุ่มปรับเลื่อนกระจกไฟฟ้าด้านคนขับเองก็ควรหาสัญลักษณ์หรือกระดาษมา ปิดไว้กันการลืมไปเลื่อนเปิดปิดกระจกโดยไม่ตั้งใจ ฟิล์มกรองแสงอาจลอกหลุดได้

แต่ก็ใช่ว่าเราจะแตะต้องไม่ได้เลย เพียงแต่เราต้องหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ค่อนข้างแข็งหรือใช้น้ำเช็ด ล้างกระจกด้านโดยตรง ควรหาอุปกรณ์ที่อุ่นนุ่มเช่นฟองน้ำชุบน้ำและเช็ดอย่างแผ่วเบา และจำไว้ว่าห้ามใช้น้ำยาล้างที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียเป็นเด็ดขาด เพราะจะมีปฏิกิริยากับฟิล์มโดยตรง
ข้อควรจำในการใช้งานฟิล์มกรองแสงให้ มีอายุยาวนานขึ้นก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่แข็งขีดข่วนกับฟิล์มโดยตรง เพราะแม้ว่าฟิล์มกรองแสงจะผลิตขึ้นจากวัสดุที่ทนต่อการขีดข่วน แต่หากกระทบรุนแรงเกินไปก็หลุดลอกได้ คงไม่มีใครอยากให้กระจกรอบคันเป็นรอยกันสักเท่าไร เพราะนอกจากไม่สวยงามแล้ว ยังทำให้มุมมองของผู้ขับลดลงอีกด้วย

เครื่องยนต์ร้อนแล้วดับ สตาร์ทติดยาก เกิดจากสาเหตุใด และแก้ไขอย่างไร

เครื่องยนต์ร้อนแล้วดับ สตาร์ทติดยาก เกิดจากสาเหตุใด และแก้ไขอย่างไร



มอเตอร์สตาร์ทหมุนทำงานแต่เครื่องไม่ติด ในสภาพเครื่องยนต์ร้อนแล้วดับ ถ้าทิ้งไว้ให้เครื่องยนต์เย็นลง ก็จะสตาร์ทติด
รถยนต์ที่เกิดอาการเหมือนกับปัญหาที่ว่านี้ จะเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งพอจะ จำแนกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
ดังกล่าวได้ดังนี้

- ส่วนผสมระหว่างน้ำมันกับอากาศบาง (ปริมาณอากาศมากเกินไป)
- คอยล์จุดระเบิดเสื่อม
- ระบบจุดระเบิดเกิดปัญหา
- ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไฟฟ้าเสื่อม

ส่วนผสมบาง โดยปกติแล้วการปรับแต่งส่วนผสมไอดี (อากาศและน้ำมัน) ของเครื่องยนต์จะต้องได้รับการปรับแต่งจาก
บุคคลหรือช่างที่มีความชำนาญ หรือไม่ก็ช่างจากศูนย์บริการ ถ้ามีการปรับแต่งให้ส่วนผสมบางเกินไป นั่นก็คือทำให้น้ำมันเข้า
น้อยแต่อากาศเข้ามาก เวลาที่เครื่องยนต์ร้อน จึงทำให้ส่วนผสมบางลง เป็นเหตุให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก หรือไม่ติดนั่นเอง

การแก้ไข สามารถทำได้โดยการให้ช่าง หรือศูนย์บริการ ทำการปรับตั้งให้อยู่ในสภาวะปกติ เพราะว่า ส่วนผสมไอดีที่มีการ
เปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลถึงสมรรถนะของเครื่องยนต์ด้วย ท่านเจ้าของรถเอง คงจะทำการแก้ไขได้ยาก เพราะต้องใช้เครื่องที่
ทันสมัยช่วยในการปรับตั้ง

คอยล์จุดระเบิดเสื่อม คอยจุดระเบิดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในเครื่องยนต์เบนซิน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องยนต์รุ่นเก่า
หรือใหม่ จะต้องใช้คอยล์จุดระเบิดสร้างไฟฟ้าแรงสูง ถ้าคอยล์จุดระเบิดเสื่อมหรือ ร้อนจัด ก็จะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด
ต้องรอจนกว่าเครื่องยนต์และคอยล์จุดระเบิดเย็นลง จึงจะ สตาร์ทเครื่องยนต์ติด ปัญหาลักษณะแบบนี้ ถ้าคอยล์จุดระเบิดร้อนจัด
เกินไปให้ทำ
การแก้ไข โดยการนำผ้าชุบน้ำมาหุ้มที่ตัว คอยล์จุดระเบิดเพื่อให้ตัวคอยล์เย็นลงก็สามารถที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ติดและ
ขับต่อไปหาช่างเพื่อทำการแก้ไขได้ ถ้าเกิดปัญหาแบบนี้ วิธีแก้ไขก็คือ การเปลี่ยนคอยล์จุดระเบิดใหม่

ระบบจุดระเบิดเกิดปัญหา ในระบบจุดระเบิด นอกเหนือจากคอยล์จุดระเบิดที่ได้กล่าวไว้แล้ว ยังมีส่วนอื่นๆ ประกอบกัน
เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้ อาจมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดของระบบจุดระเบิดเสีย หรือเสื่อม ก็จะส่งผลให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด
ซึ่งลักษณะแบบนี้เจ้าของรถคงจะแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องให้ช่างเป็นผู้ทำการแก้ไขให้
การแก้ไข ก็ต้องให้ช่างที่มีความรู้ความชำนาญ ทำการตรวจเช็คและแก้ไขให้เป็นปกติ มิฉะนั้นก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาอีก
เวลาเครื่องยนต์ร้อน

ถุงลมนิรภัย ในรถ ไม่มี ได้มั้ย ถ้ามีมันมีประโยชน์อย่างไร และปัญหาในการมีถุงลมนิรภัย คืออะไร

ถุงลมนิรภัย ในรถ ไม่มี ได้มั้ย ถ้ามีมันมีประโยชน์อย่างไร และปัญหาในการมีถุงลมนิรภัย คืออะไร


ส่วน หนึ่งของคำถามที่น่าสนใจ และไดรับคำตอบจาก NHTSA (National Highway Traffic Safety Administration) ที่จะทำให้มีความเข้าใจถึงการใช้งานถุงลมนิรภัยอย่างไรให้ปลอดภัยได้มากยิ่ง ขึ้น
1. รถยนต์ใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทุกคัน ต้องมีถุงลมนิรภัยหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเลือกซื้อรถยนต์ที่ไม่ติดตั้งถุงลมนิรภัยตั้งแต่ปี 1998 กฎหมายกำหนดให้รถยนต์นั่งทุกคันที่จำหน่ายในอเมริกาต้องมีถุงลมนิรภัยด้าน หน้าทั้ง 2 ข้าง เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และมีผลต่อรถบรรทุกเล็กทุกคันในปี 1999
2. ตามที่ NHTSA กำหนดให้มีการติดตั้งถุงลมนิรภัยแบบลดความแรง (Depowered Airbag) ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จะสามารถเปลี่ยนถุงลมนิรภัยที่ใช้อยู่ในรุ่นปัจจุบัน เป็นถุงลมนิรภัยชนิดใหม่ได้หรือไม่มาตรฐานใหม่นี้ เพื่อลดความรุนแรงในการพองตัวลง 25-30%จากปัจจุบัน และจะบังคับใช้กับรถยนต์ที่ผลิตออกมาใหม่ ไม่ครอบคลุมถึงรถยนต์ที่ผลิตออกไปแล้ว
3. สามารถติดตั้ง เบาะสำหรับเด็ก แบบหันหน้าไปท้ายรถยนต์ ในที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้าได้หรือไม่ไม่โดยเด็ดขาด เว้นแต่จะมีสวิตช์ตัดการทำงานของถุงลมนิรภัยด้านผู้โดยสารโดยเฉพาะ และได้ตัดการทำงานไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำว่า ที่นั่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 12 ปีลงมา คือ เบาะหลัง
4. ถ้าเช่นนั้น เบาะสำหรับเด็กที่ติดตั้งแบบธรรมดา จะสามารถติดตั้งในเบาะผู้โดยสารด้านหน้าได้หรือไม่NHTSA แนะนำว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีทุกคน ควรโดยสารในเบาะด้านหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าไม่มีทางเลือก และต้องการนำมานั่งในเบาะด้านหน้าจริง ๆ ต้องจัดให้เด็กนั่งโดยมีอุปกรณ์นิรภัยคาดไว้กับลำตัวอย่างถูกต้อง และเลื่อนเบาะไปด้านหลังเพื่อให้เด็กอยู่ห่างจากถุงลมนิรภัยให้มากที่สุด
5. ในกรณีเด็กโตที่ไม่จำเป็นต้องใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กแล้ว จะให้เด็กนั่งในเบาะด้านหน้าของรถยนต์ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยได้หรือไม่ จะมีอันตรายหรือเปล่าถ้าถุงลมนิรภัยทำงานขึ้นมาอย่างที่บอกไปแล้วว่า เด็กควรโดยสารในเบาะหลัง เว้นแต่กรณีที่จำเป็นต้องให้นั่งด้านหน้าจริง ๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น และขอเพิ่มเติมว่า เด็กต้องนั่งพิงพนักพิงอยู่เสมอ ระวังอย่าให้เด็กโน้มตัวมาด้านหน้าบ่อย ๆ และระวังไม่ให้เข็มขัดนิรภัยหย่อนจนเกินไป ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีว่า บางครั้งยากที่จะควบคุมเด็กให้อยู่นิ่งได้
6. NHTSA ใช้เกณฑ์อะไรที่กำหนดว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีควรจะนั่งในเบาะหลัง และจะพิจารณาจากความสูงหรือน้ำหนักตัวของเด็กได้หรือไม่สำหรับรถยนต์ที่ติด ตั้งถุงลมนิรภัยด้านผู้โดยสาร NHTSA พิจารณาจากอุบัติเหตุการเสียชีวิตที่เกิดจากเด็กถูกกระแทกโดยถุงลมนิรภัย จากหลักฐานจริง ๆ แล้วพบว่า ไม่มีเด็กอายุเกินกว่า 9 ปีเสียชีวิตจากกรณีนี้ ส่วนการจะกำหนดโดยส่วนสูงหรือน้ำหนักตัวนั้นคงไม่สามารถจะทำได้ เพราะรถยนต์แต่ละรุ่นจะมีความรุนแรงในการทำงานของถุงลมนิรภัยต่างกันออกไป จึงยากที่จะสรุปเป็นมาตรฐานเดียวกัน
7. สำหรับผู้ขับขี่ที่มีรูปร่างเตี้ย และจำเป็นต้องนั่งใกล้พวงมาลัย จะมีวิธีการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากถุงลมนิรภัยได้อย่างไร
ก่อน อื่นต้องย้ำว่า ผู้ขับที่ได้รับการปกป้องจากถุงลมนิรภัยมีสัดส่วนสูงกว่าผู้ที่เสียชีวิตจาก ถุงลมนิรภัยมากนัก และที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่ใส่เข็มขัดนิรภัยผู้ขับ และผู้โดยสารที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และนั่งให้ห่างจากพวงมาลัยมากที่สุดเท่าที่ยังสามารถควบคุมรถยนต์ได้โดย สะดวก ในกรณีที่ผู้ขับมีรูปร่างเตี้ยก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน อาจจะใช้การเอนพนักพิงเบาะไปด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเพิ่มระยะห่างจากหน้าอก ถึงพวงมาลัย นอกจากนั้น แขนที่ควบคุมพวงมาลัยจะอยู่ด้านข้างของพวงมาลัยทั้ง 2 ด้าน ไม่ใช่พาดขวางอยู่ระหว่างคนขับกับพวงมาลัย เพื่อให้ถุงลมนิรภัยมีพื้นที่ และระยะในการพองตัวมากที่สุด และหลีกเลี่ยงโอกาสที่แขนจะได้รับบาดเจ็บรุนแรง
8. ผู้ที่มีส่วนสูง และน้ำหนักเท่าไร ที่จัดว่าเสี่ยงต่ออันตรายจากถุงลมนิรภัยไม่มีการระบุชัดเจนในประเด็นนี้ ขอให้พึงระวังไว้ว่า ปัจจัยสำคัญที่จะชี้ถึงอัตราเสี่ยงจากถุงลมนิรภัยที่พองตัวอย่างรวดเร็ว คือ ระยะห่างระหว่างตัวคุณกับถุงลมนิรภัยนั่นเอง
9. ถ้าอย่างนั้น ระยะห่างขนาดไหนที่เข้าข่ายว่าค่อนข้างปลอดภัยไม่มีระยะที่แน่นอน เพราะถุงลมนิรภัยในรถยนต์แต่ละรุ่นมีความรุนแรงในการพองตัวต่างกัน ยิ่งห่างโดยยังควบคุมรถยนต์ได้ด้วยดีก็ยิ่งปลอดภัย (มีการชี้แจงภายหลังว่า อย่างน้อย ระยะห่างจากผู้ขับถึงพวงมาลัยต้องมากกว่า 10 นิ้วขึ้นไป)
10. สำหรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่จะปลอดภัยหรือไม่ หากจะนั่งในเบาะด้านหน้าซึ่งติดตั้งถุงลมนิรภัยด้วยปลอดภัยแน่นอน แค่ต้องไม่ลืมคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ เลื่อนเบาะไปด้านหลังมาก ๆ อาจเอนพนักพิงเบาะไปด้านหลังเล็กน้อย ระวังอย่าให้สายเข็มขัดนิรภัยหย่อน
11. แล้วสำหรับคนแก่ จะเป็นอันตรายหรือไม่ถ้านั่งในเบาะด้านหน้าซึ่งติดตั้งถุงลมนิรภัยในกรณีผู้ สูงอายุก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อที่แล้ว
12. ผู้ที่ตั้งครรภ์ จะปลอดภัยหรือไม่ที่จะต้องนั่งอยู่หน้าถุงลมนิรภัยในขณะนี้ NHTSA กำลังรวบรวมผลการพองตัวของถุงลมนิรภัยต่อผู้ตั้งครรภ์อยู่ จนถึงปัจจุบันนี้ ยังแนะนำผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยอยู่เสมอ ให้สายรัดไหล่พาดผ่านกระดูกไหปลาร้า สายรัดเอวพาดใต้หน้าท้องให้ต่ำที่สุดผ่านบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้าง ไม่ควรพาดบนหน้าท้องโดยเด็ดขาด และให้นั่งห่างจากถุงลมนิรภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
13. เข็มขัดนิรภัย แบบ Pretensioner และ Tensioner คืออะไร และจะช่วยปกป้องในกรณีเกิดอุบัติเหตุได้ดีเพียงใดเข็มขัดนิรภัยทั้ง 2 แบบจะดึงรั้งตัวมาด้านหลังโดยอัตโนมัติเวลาที่เกิดการชนกันขึ้น มีการติดตั้งในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ และเมื่อใดที่เข็มขัดนิรภัยชนิดนี้ทำงานขึ้นมา ต้องถอดเปลี่ยนใหม่
14. ในรถยนต์ที่มีพวงมาลัยชนิดที่ปรับความสูงต่ำได้ ควรปรับเปลี่ยนไว้ที่ตำแหน่งใดที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานได้ประสิทธิภาพสูง สุด และคนขับเสี่ยงต่อการบาดเจ็บน้อยที่สุดควรจะตั้งให้ต่ำลง เพื่อให้ถุงลมนิรภัยพุ่งมาที่หน้าอกขณะที่พองตัว ไม่ใช่พุ่งเข้าใส่ศรีษะ และใบหน้า แต่สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ต้องระวังอย่าให้ต่ำเกินไป ไม่นั้นจะพุ่งมากระแทกท้องได้
15. แล้วพวงมาลัยที่ปรับให้ชิดหรือห่างตัวได้ควรปรับอย่างไรปรับให้ระยะพอเหมาะในการขับ โดยห่างจากตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ขับอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง

ขับอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง

1. อย่าออกรถและหยุดรถอย่างรุนแรง
2. อย่าหักเลี้ยวพวงมาลัยอย่างรุ่นแรง
3. อย่าขับรถปีนขอบถนน หรือขับเบียดฟุตบาท
4. ขณะขับรถ ควรระวังหลุม ก้อนหิน หรือสิ่งกีดขวาง
5. เติมลมยางให้เหมาะสมตามสเปกที่รถยี่ห้อนั้นกำหนด
6. ตรวจสอบลมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
7. สลับยางและถ่วงล้อตามระยะเวลา และระยะทางที่กำหนด

การถ่วงล้อ

การถ่วงล้อ

ถ่วงล้อการปลี่ยนขนาด ยางรถยนต์

สิ่งที่ควรทราบเบื้องต้น ก็คือขนาดของยางเดิม ที่ติดมากับรถของเราตั้งแต่ที่แรกก่อน เนื่องจากยางที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้ทดสอบมาเป็นที่เรียบร้อย แต่ด้วยความต้องการที่แตกต่างกัน จึงมีเจ้าของรถหลายท่านประสงค์ที่จะเปลี่ยน ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงขนาดที่เปลี่ยนไปแล้ว ต้องยังคงมีความสูงที่ไม่ผิดไปมาก มิเช่นนั้นผลกระทบในเรื่องความนุ่มนวล , การทรงตัว และการแบกรับน้ำหนักก็อาจสร้างปัญหาได้

ว่าด้วยเรื่อง.....ยาง.....

ว่าด้วยเรื่อง.....ยาง.....

เนื่องจากมี4ฤดูกาลเเบ่งเเยกออกจากกันอย่างชัดเจน(ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงเเละฤดูหนาว)
เเต่ยางสำหรับรถยนต์มีเเบ่งเเค่2ประเภทคือ
1.Summer tire
2.Studless tire
สำหรับ เมืองหนาวนั้น ยางstudlessอาจจะไม่จำเป็น เเต่ในเมืองที่มีหิมะตกนั้นจำเป็นมาก เเถมบางทีต้องติดโซ่ด้วย ป้องกันไม่ให้รถเลื่อนไหลในขณะวิ่งหรือจอด เพื่อความปลอดภัยยของเราเเละผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆด้วย

ที่บ้าน หน้าหนาวก็ยังขับรถออกไปเที่ยวตามเขากันบ้าง ดังนั้น ยางstudlesเเละโซ่จึงเป็นของจำเป็น ปีนี้เปลียนรถใหม่ ล้อใหญ่ขึ้น 215/55R17 ขนาดล้อก็มีผลต่อราคาล้อเเละยาง ขนาดใหญ่ก็จะเเพงมาก ครั้งเเรกว่าจะซื้อจากศูนย์โตโยต้า ไปสอบถามราคา ได้ยินเเล้วต้องถอย ราคาตกอยู่ที่ประมาณ160,000-180,000เยน(ล้ออะลูมินั่มอย่างถูกๆ) ก็เลยมาหาซื้อตามเน็ต(ได้ข้อมูลมาจากผู้ใช้รถคนอื่น)ได้ราคาถูกกว่าศูนย์ ประมาณ30,000เยน

Summer tire สำหรับเมืองที่มีอากาศไม่หนาวมากได้ทั้งปี









Studless tire ใช้วิ่งเฉพาะหน้าหนาว





ลักษณะ ที่เเตกต่างกับยางหน้าร้อนคือ ยางจะนิ่มกว่าเเละมีรวดลายละเอียดเยอะกว่า ก็เลือกYokohama(Black iG20)เหมือนกัน เพราะว่าถูกว่ามิชิลินเเละบริดจ์สโตน (ที่ญี่ปุ่นบริดจ์สโตนเเพงที่สุด เเถวๆฮอกไกโดนิยมใช้กัน)ยางเเบบนี้มีอายุการใช้งานเเค่3ปี ก็เลยเลือกถูกๆไว้ก่อน



มาพร้อมกับล้ออะลูมินั่ม(Aluminum Wheel)ถูกๆ

การเติมลม กับ ล้อแม็กซ์

การเติมลม กับ ล้อแม็กซ์

การเติมลม ให้กับล้อแม็ก ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ
เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป
หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3 - 5 ปอนด์/ตร.นิ้ว
หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ความดันลมยาง สำหรับรถเก๋งและรถกระบะ

รถเก๋ง ความดันสูงสุด ไม่ควรเกิน 36 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถนั้นๆ ด้วย เช่น ...

รถเก๋งขนาดเล็ก ความดันลมยาง ประมาณ 25 - 30 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่ ความดันลมยาง ประมาณ 30 - 35 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
รถกระบะ ความดันลมยาง ไม่ควรเกิน 65 ปอนด์ / ตาราง นิ้ว



การ เติมลมยาง มากเกินไป
บริเวณของกึ่งกลางของหน้ายางจะสึกหรอได้ง่าย
การรับแรงและการยืดหยุ่นด้อยลง เมื่อมีการรับน้ำหนักหรือการกระแทก ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของยางได้ง่าย
การทรงตัวและการเกาะถนน ไม่ดีเท่าที่ควร

การ เติมลมยาง น้อยเกินไป
บริเวณไหล่ยาง จะสึกเร็วกว่าปกติ แก้มยางทำงานหนัก สึกหรอได้ง่าย
การหมุนหรือบังคับ พวงมาลัย ได้ยากขึ้น
การทรงตังของรถในขณะขับขี่ด้อยลง

นอกจากนี้หาก ดอกยาง สึกเป็นช่วงๆ คล้ายฟันเลื่อย สันนิฐานปัญหาอาจเกิดจากศูนย์ของล้อมีความผิดปกติ

ดังนั้นจึงขอให้ท่านเจ้าของรถ ใช้ความระมัดระวัง และต้องเข้าใจ ในการ เติมลม ทุกครั้ง ถึงแม้เราจะไม่ได้เติมเองแต่อย่างน้อยก็ควรบอก เด็กปั๊ม ให้เติมลมยางได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ก็จะเป็นผลดีต่อ ล้อแม็ก ยาง และรวมไปถึงความปลอดภัยแก่ตัวเราด้วย


ที่มาของเกร็ดความรู้ทั้งหมด http://www.automagwheel.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=515750

ตัวอักษรบนยาง บอกอะไร?

ตัวอักษรบนยาง บอกอะไร?

หลายท่าน คงอยากทราบถึง ความหมายของ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่อยู่บน ยาง นั้น มีความหมายอย่างไร ? แล้วจะมีผลต่อการนำไปใช้งานกับรถของเรา อย่างไร ?

สัญลักลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่แสดงอยู่ตรงด้านข้างของยาง ( Side Wall ) ล้วนมีความหมายด้วยกันทั้งนั้น ลองดูรายละเอียดได้ตามข้อมูลนี้



รหัสหรือตัวอักษร ที่อยู่บนยาง


หมายเลข และ ความหมาย
(1.) ความกว้างของหน้ายาง ( หน่วยเป็น มม. )
(2.) ค่าความสูงของยาง ซึ่งมีความสอดคล้องกับ ความกว้างของ ยาง ( หน่วย เป็น เปอร์เซ็นต์ )
(3.) R = Radial Construction โครงสร้างยางเป็นเรเดียล
(4.) ขนาดของล้อ ( หน่วยเป็น นิ้ว )
(5.) ดัชนีการรับน้ำหนัก Load Index ( หน่วยเป็น กิโลกรัม )
(6.) สัญลักษณ์ ความเร็ว Speed Symbol ( หน่วยเป็น กิโลมิเตอร์ )
(7.) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอก ของยาง ( หน่วยเป็น นิ้ว )
(8.) จำนวนชั้นของโครงสร้างของยาง ( Ply )
(9.) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านใน ของยาง ( เฉพาะยางที่เป็นหน่วย มิลลิมิเตอร์ เท่านั้น )

ตารางแสดง ดัชนี การรับน้ำหนัก ของ ยางรถยนต์ ( Load Index ) ตามตัวเลข ที่แสดงไว้

ดัชนี ที่แสดงไว้ตรงด้านข้างของยาง คือประสิทธิภาพสูงสุดในการรับน้ำหนัก ในขณะที่รถวิ่งที่ความเร็วสูงสุด

ตัวเลขดัชนี กิโลกรัม ตัวเลขดัชนี กิโลกรัม ตัวเลขดัชนี กิโลกรัม
65 290 85 515 105 925
66 300 86 530 106 950
67 307 87 545 107 975
68 315 88 560 108 1000
69 325 89 580 109 1030
70 335 90 600 110 1060
71 345 91 615 111 1090
72 355 92 630 112 1120
73 365 93 650 113 1150
74 375 94 670 114 1180
75 387 95 690 115 1215
76 400 96 710 116 1250
77 412 97 730 117 1285
78 425 98 750 118 1320
79 237 99 775 119 1360
80 450 100 800 120 1400
81 462 101 825 121 1450
82 475 102 850 122 1500
83 487 103 875
84 500 104 900


ตารางแสดง สัญลักษณ์ ของ ความเร็ว Speed Symbol
สัญลักษณ์ อักษร ความเร็วสูงสุด ( กม./ชม.) ความเร็วสูงสุด ( ไมล์./ชม.)
N 140 87
P 150 93
Q 160 99
R 170 106
S 180 112
T 190 118
H 210 130
V 240 149
W 270 168
Y 300 186

สัญลักษณ์ กลุ่ม ความเร็วสูงสุด ( กม./ชม.) ความเร็วสูงสุด ( ไมล์./ชม.)
ZR 240 149 และ มากกว่า


การดู เดือนปี ที่ยางวงนี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อไร ?

การปลี่ยนขนาด ยางรถยนต์

การปลี่ยนขนาด ยางรถยนต์
สิ่งที่ควรทราบเบื้องต้น ก็คือขนาดของยางเดิม ที่ติดมากับรถของเราตั้งแต่ที่แรกก่อน เนื่องจากยางที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้ทดสอบมาเป็นที่เรียบร้อย แต่ด้วยความต้องการที่แตกต่างกัน จึงมีเจ้าของรถหลายท่านประสงค์ที่จะเปลี่ยน ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงขนาดที่เปลี่ยนไปแล้ว ต้องยังคงมีความสูงที่ไม่ผิดไปมาก มิเช่นนั้นผลกระทบในเรื่องความนุ่มนวล , การทรงตัว และการแบกรับน้ำหนักก็อาจสร้างปัญหาได้
การคำนวนขนาดยาง

การคำนวนเรื่องขนาดยาง
มี คำถาม บ่อยครั้ง ที่ท่านเจ้าของ รถยนต์ อยากที่จะเปลี่ยนล้อให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งในการเปลี่ยนล้อ สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ ขนาดของยาง จะใช้ขนาดไหนดี ? อันนี้เราขอแนะนำให้พยายามเลือก ขนาดยางใหม่ ให้มีความสูง หรือ จะเรียกแบบเป็นทางการว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง ให้มีขนาดหลังเปลี่ยนแล้ว ใกล้เคียงของเดิม ( Standard ) มากที่สุด เพราะจะได้ไม่เกิดผลข้างเคียง เช่น วิ่งไม่ออก , กินน้ำมัน , ติดซุ้ม , ติดโช๊ค เป็นต้น

ดัง นั้น เราลองมาหาขนาด ยางใหม่ โดยใช้วิธีการคำนวนง่ายๆ แต่ทั้งนี้ เราต้องหาตัวเลขที่ยาง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลด้วยนะครับ ลองดูตามนี้ได้เลยครับ...


สูตรคำนวน D = ( W x S% x 2 ) + d

D = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของยาง (หน่วยเป็น มม. )
W = ความกว้างของยาง
S = ซีรี่ย์ยาง คิดเป็น % แต่ต้อง คูณ 2 เพราะต้องคิดทั้ง 2 ข้าง บนและล่าง
d = เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ

ตัวอย่างที่ 1 ขนาดยาง 195 / 55 / R15
W = 195
S = 55% ของ 195 ( 195 x 55% ) x 2 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 214.5 มม.
d = 15 นิ้ว ( ทำเป็น มม. จะได้ 15 x 25.4 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 381 มม. )
ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 214.5 + 381 = 595.5 มม.


ตัวอย่างที่ 2 ขนาดยาง 205 / 45 / R16
W = 205
S = 45% ของ 205 ( 205 x 45% ) x 2 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 184.5 มม.
d = 16 นิ้ว ( ทำเป็น มม. จะได้ 16 x 25.4 ได้ผลลัพธ์ เท่ากับ 406.4 มม. )
ดังนั้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้เท่ากับ 184.5 + 406.4 = 590.9 มม.

ดังนั้น หากท่านใดที่จะเปลี่ยนขนาดล้อและยาง ก็ต้องคำนวน ขนาดความสูงออกมาให้ใกล้เคียงกับขนาดยางเดิม มากที่สุด ถึงจะไม่มีผลข้างเคียงต่อการขับขี่

ลักษณะดอก ยางรถยนต์

ลักษณะดอก ยางรถยนต์
โดยทั่วไปในบ้านเรา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1.) ดอกยาง แบบ 2 ทิศทาง
ดอกยาง ประเภทนี้ จะสามารถ ทำการ สลับยาง ได้ทุกตำแหน่ง ลักษณะมี ดอกยาง สวนทางกัน จึงไม่เน้นในเรื่องของ ความเร็วสูงมากนัก แต่ก็ใช้ได้อย่าง สะดวกสบาย


2.) ดอกยาง แบบทิศทางเดียว
ดอกยางจะมีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังมีสัญญาลักษณ์ลูกศรแสดงไว้ที่บริเวณแก้มยาง เพื่อบ่งบอกถึงตำแหน่งของการหมุนของล้อให้เราสามารถใส่ได้อย่างถูกต้อง ดอกยางประเภทนี้ ถูกออกแบบมาให้สามารถรีดน้ำได้ดีกว่าประเภทแรก เพื่อประโยขน์ในการควบคุมการทรงตัวในขณะใช้ความเร็วได้ดี


การสลับยาง
ควรมี การสลับยาง กับรถที่เราใช้อย่างน้อย ทุกๆ10,000 กิโลเมตร สำหรับ รถขับเคลื่อน 2 ล้อทั่วไป และ ทุกๆ 4,000 กิโลเมตร สำหรับ รถที่ขับเคลื่อน 4 ล้อ และนี่คือ รูปแบบของการ สลับยาง ในแต่ละประเภทของ รถยนต์ โดยแบบเป็น 2 ประเภท หลักๆ ดังนี้ ...

การสลับแบบ 4 ล้อ
สำหรับ รถขับเคลื่อนล้อหน้า การสลับยาง จะทะแยง จากหลังไปหน้า ตามรูป ที่ (1) หรือ อาจจะเลือกการ สลับยาง แบบกากบาท แบบรูปที่ (2) ก็ได้
สำหรับ รถที่ขับหลัง หรือ ขับเคลื่อน 4 ล้อ ก็ให้ สลับยาง จากหน้าไปหลัง ดังรูปที่ (3)
และหาก ล้อรถ ของท่าน ใส่ยางเป็นแบบชนิด มีทิศทางการหมุนทางเดียว ก็ต้องใช้การ สลับยาง แบบในรูปที่ (4)
และสำหรับรถที่ใส่ล้อ และ ยาง ที่มีขนาด หน้า-หลัง ไม่เท่ากัน และดอกยางไม่เป็นชนิดแบบมีทิศทาง การสลับยาง ก็ควรใช้แบบที่ (5)

การสลับยาง แบบ 5 วง ( รวมยางอะไหล่ )

การ สลับยาง แบบใช้ ยางอะไหล่ ด้วยนี้ ก็เพื่อต้องการปรับดอกยาง ให้มีขนาด ที่เท่าๆ กัน ทั้ง 5 เส้น แต่ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละค่ายรถด้วย ที่จะมีล้อและ ยางอะไหล่ ใส่ติดมา เป็นแบบเดียวกัน กับที่เราใส่อยู่หรือไม่ ? แต่ที่จะพูดถึงนี้ เป็นยางแบบไม่มีทิศทาง ก็ให้ทำการ สลับยาง ตามรูปแบบที่ (6) และ (7) ได้

การถ่วงล้อ
เมื่อไรที่ต้องถ่วงล้อ ? แนะนำให้ทำการถ่วงล้อทุกครั้งที่เราถอดยางออกจากกะทะล้อ หรือตอนที่เปลี่ยนยางใหม่ เพราะไม่เช่นนั้น อาจเกิดการสั่น หรือ เกิดเสียงดัง สร้างความรำคาญ ในขนาดวิ่ง ซึ่งควรทำการถ่วงล้อ อย่างน้อย ปีละครั้ง เพราะอาจเกิดมีปัญหาเรื่องของ ตะกั่วถ่วงล้อ อาจหลุดได้ในระหว่างใช้งานไปนานๆ

การดูแลรักษารถด้วยตนเอง

การดูแลรักษารถด้วยตนเอง

การดูแลรักษารถด้วยตนเองที่นำเสนอนี้ เป็นแนวทาง ทั่วๆไป ที่เน้นหนักไปที่รถ TOYOTA แต่สำหรับรถยี่ห้ออื่นก็สามารถ นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าสิ่งที่นำเสนอนี้ต่างไปจากหนังสือคู่มือรถ ก็ขอให้ยึดถือข้อมูลในหนังสือคู่มือเป็น หลัก

รายการที่ควรตรวจเช็ค

1.
น้ำหล่อเย็น ควรตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในระดับ Full อยู่เสมอ โดยตรวจเช็คในขณะที่ดับเครื่องและเครื่องเย็น ถ้าระดับน้ำลดลงเป็นปริมาณมากก็อาจ จะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพิจารณาหาสาเหตุ หรือนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจเช็คสาเหตุ อย่าลืมเติมน้ำก่อนนำรถไป

2. ระดับน้ำมันเครื่องการตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องอุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับเครื่องเช็คระดับน้ำมันเครื่องโดยใช้ก้านวัดระดับ น้ำมันเครื่อง
- เพื่อให้การตรวจเช็คถูกต้อง รถควรอยู่ในแนวระดับเครื่องยังร้อน และทำการวัดหลังจากดับเครื่อง 2-3
นาทีเพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงด้านล่างก่อน
- ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็คน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
- เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องคืนกลับจุดเดิม
- ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่าง " F "
กับ " L " แสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ

ข้อควรระวัง
- หลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป เพราะอาจ ทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
- ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดอีกครั้งหลังเติม น้ำมันเครื่องลงไป


 เช่ารถตู้เชียงใหม่

3. ระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
ควรตรวจเช็คระดับน้ำกลั่น แบตเตอรี่ ให้อยู่ในตำแหน่ง UPPER/LEVEL และไม่ควรเติมเกิน กว่าระดับ UPPER/LEVEL เพราะถ้าเติม มากเกินไป น้ำยาอิเลคโทรไลท์ซึ่งเป็นสารละลายกรด ซัลฟูริค จะเจือจางทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง นอกจากนี้ น้ำยาอิเลคโทรไลท์อาจจะกระเด็นออกทาง รูระบายไอ และไปกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์ได้

ข้อควรระวัง
- ปิดฝาเติมน้ำกลั่นให้แน่น
- ขั้วแบตเตอรี่ที่ขั้วบวกและลบขันแน่น
- แบตเตอรี่ยึดแน่นกับฐานที่ตั้ง

 เช่ารถตู้เชียงใหม่
4. ระดับน้ำมันเบรค ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันเบรคมีคำว่า MAX และ MIN ระดับน้ำมันเบรคควร อยู่ที่ระดับ MAX อยู่เสมอ สาเหตุที่เป็นไปได้ ที่มีผลทำให้ปริมาณน้ำมันเบรคในกระปุกน้ำมันเบรค ลดลงต่ำลงมี 2 ข้อ คือ

- มีการรั่วของน้ำมันเบรคออกจากระบบเบรค
- การสึกหรอของผ้าเบรค ซึ่งระดับน้ำมันเบรคจะลดลงน้อยและช้ามากในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมัน เบรคถ้าพบว่า ระดับน้ำมันเบรคในกระปุกน้ำมันเบรค ลดลงต่ำลงรวดเร็ว ควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจ เช็คสาเหตุ

5. ระดับน้ำมันคลัทช์ ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันคลัทช์ จะมีคำว่า MAX กับ MIN ระดับน้ำมันคลัชท์ ควรอยู่ที่ระดับ MAX เสมอ ถ้าพบว่าระดับ น้ำมันคลัทช์ในกระปุกลดลงต่ำลง ควรนำรถเข้าศูนย์ บริการ เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุ

6. ระดับน้ำมันเกียร์ AUTO ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ AUTO ออกเช็คน้ำมันเกียร์ ที่ติดก้านวัดด้วยผ้า แล้วเสียบก้านวัด น้ำมันเกียร์คืนกลับจุดเดิม ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจระดับน้ำมันเกียร์ ์ที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมัน เกียร์อยู่ที่ขีด F พอดี แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ปกติ

7. ตรวจเช็คระดับน้ำมัน POWER ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการหมุนฝาปิดกระปุกน้ำมันPOWER จะติด อยู่กับฝากระปุกน้ำมัน POWER ที่ก้าน วัดจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน ถ้าวัดตอนที่ เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ให้ดูด้าน COLD ถ้าวัดตอนเครื่อง ร้อนให้ดูด้าน HOT ถ้าเป็นรุ่นใหม่ให้ดูที่กระปุกน้ำมัน POWER จะเป็นพลาสติกใส ที่กระปุกจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน และมีขีดระดับ MAX กับ MIN อยู่ด้วยระดับน้ำมัน POWER ควรอยู่ระดับ MAX เสมอ นเครื่องยนต์เย็นให้ดูด้าน COLD และถ้าดูตอน เครื่องยนต์ร้อนให้ดูด้าน HOT

8. ตรวจเช็คสภาพของสายพาน โดยวิธีการมองดูที่สายพานถ้าพบรอยแตกเกิดขึ้น ควรทำการเปลี่ยนแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะใช้รถได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ก็ควรตรวจดูความตึง ของสายพานด้วย โดยการใช้นิ้วกดลงบนสายพานตรงกลาง ระหว่างมู่เล่สองข้าง ถ้าสามารถกดลงได้เล็กน้อย ประมาณ 10 มม. ก็น่าจะพอใช้ได้ ( ถ้าไม่แน่ใจควรให้ช่างตรวจสอบ เพราะการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ตรวจต้องมีความชำนาญ พอสมควร )

9. ตรวจเช็คสภาพภายในห้องเครื่อง โดยวิธีการมองดูรอบๆภายในห้องเครื่อง ให้สังเกตดูว่า มีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น ท่อยางหม้อน้ำมีคราบน้ำซึมหรือไม่ สายไฟภายใน ห้องเครื่องเรียบร้อยดีหรือไม่ มีหนูขึ้นมากัดหรือไม่ มีคราบ น้ำมันเครื่องรั่วซึมหรือไม่ เป็นต้น

10. ตรวจเช็คระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่างๆ เปิดไฟทั้งหมดดูว่าทำงานตามปกติหรือไม่ มีหลอดไหนไม่ติด หรือไม่ ถ้าพบว่ามีไฟหลอดไหนไม่ติดควรเปลี่ยน ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อ ตรวจเช็ค

11. ตรวจเช็คที่ปัดน้ำฝน ยางปัดน้ำฝนเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ก็อาจมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้
- ผิวสัมผัสส่วนปลายมีการสึกหรอ จากการทำงานปกติของ ใบปัด
- มีสิ่งสกปรก และหินทรายละเอียดอยู่ระหว่างยางใบปัดกับกระจกทำให้ยางปัดน้ำฝนสึกหรอ
- เมื่อใบปัดน้ำฝนผ่านการใช้งานนานๆ ยางใบปัดน้ำฝน จะแข็งตัว การยืดหยุ่นจะลดลง และความบกพร่องในการ ปัดจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าสัมผัสระหว่างยางใบปัดกับ กระจกไม่ดี รวมทั้งอาจเกิดจากใบปัดน้ำฝนเกิดอาการ สั่นเต้น หรืออาการอื่นๆ ถ้าพบอาการเหล่านี้ควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่

เทคนิคการใช้รถและการดูแลรถอย่างง่ายๆ

เทคนิคการใช้รถและการดูแลรถอย่างง่ายๆ


ยิ่งอ้วนยิ่งเปลือง
รถ ไม่ใช่โกดังเก็บของ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควรเก็บไว้กับรถ เพราะน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้น เพียง 10 กิโลกรัม จะทำให้เปลือง ค่าน้ำมันมากขึ้นกว่า 60 บาท ต่อเดือน


เร็วคุณภาพ
เร็ว อย่างมีคุณภาพ คือ ความเร็ว 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะประหยัดน้ำมันได้มากที่สุด หากขับรถทางไกล แล้วชอบซิ่งด้วยความเร็ว 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง ลองเปลี่ยนมาขับนิ่ม ๆ ที่ 90 ดู นอกจากจะช่วยให้ไม่ต้องเสี่ยงกับการถูกปรับแล้วยังช่วยประหยัด ได้ตั้ง 125 บาท ต่อเดือน


ติดเครื่อง เปลืองแน่
หาก ชอบเปิดแอร์ นอนเล่น หรือชอบติดเครื่องตอนจอดคอย เพียงครั้งละ 10 นาที เดือนละ 10 ครั้ง นอกจากจะเปลือกน้ำมัน 45 บาท ต่อเดือนแล้ว น้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมด ซึ่งอาจหลงเหลืออยู่ใน กระบอกสูบจะเป็นตัวการทำให้เครื่องยนต์สึกหรออีกด้วย

ออกเร่ง เบรกดัง พังเร็ว
การ ออกรถกระโชกกระชาก เลี้ยวอย่างเร็ว เบรกอย่างแรง เป็นฉนวนของอุบัติเหตุได้ง่าย และเป็นวิธีทำลายรถ อย่างได้ผลชะงัด เพราะทั้งเครื่องยนต์ เครื่องส่งกำลัง ผ้าเบรก และยางรถ จะชำรุดสึกหรอได้เร็วขึ้นทันตาเห็นเลย นอกจากนี้หากติดนิสัยชอบเร่งเครื่องแรง ๆ ตอนออกรถสักวันละ 10 ครั้ง จะเสียน้ำมันเปล่า ๆ เดือนละ 60 บาทอีก ด้วย

ปิด แอร์ บ้างนะ
รถ ที่ใช้ แอร์ จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างน้อยก็ร้อยละ 10 ขึ้นไป ถ้าเลือกเปิดได้ เฉพาะเวลาที่จำเป็น เช่น เช้า ๆ เปิดกระจกรับอากาศยามเช้าก็ไม่เลว ลดการใช้แอร์ลงแค่ 10% ของการใช้แอร์ตามปกติ ก็ประหยัดเงินได้อีก 40 บาท ต่อเดือนสบาย ๆ

สูง-สูง ต่ำ-ต่ำ
การ ใช้เกียร์ควรสัมพันธ์กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ (ก็เขาสร้างของเขามาอย่างนั้น) ความเร็วสูงยังฝืนลากเกยร์ต่ำ (เกียร์ 1,2) ความเร็วยังต่ำรีบไปใช้เกียร์สูง (เกียร์ 3,4,5) กำลังเครื่องก็ตก เครื่องก็รีบพังก่อนเวลาอันควร และจะสิ้นเปลือง กว่าปกติอีก 85 บาทต่อเดือน

รักคลัตซ์อย่าเลี้ยงคลัตซ์
อย่า แช่คลัตซ์โดยไม่จำเป็น สิ้นเปลืองคลัตซ์ และน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้เบรก หรือเบรกมือช่วยแทนดีกว่า เวลาหยุดควรเหยียบคลัต์ การเร่งเครื่องแรง ขณะออกรถโดยยังไม่ปล่อยคลัตซ์ไม่สุด หรือเข้าเกียร์แล้วยังวางเท้าบนแป้นเหยียบคลัตซ์ก็เป็นการ หาเรื่องอุปกรณ์ในระบบคลัตซ์สึกหรอ และเปลืองน้ำมันเปล่า ๆ ด้วย

ไม่ติด ไม่คอย เข้าซอยลัด
วาง แผนในการขับรถล่วงหน้า เลือกเส้นทางลัดเพื่อประหยัดเวลา และอารมณ์ที่เสียเปล่า จากรถติด หรือหลงทาง ท่านอาจจะประหยัด ได้มากกว่าเดือนละ 420 บาท

ไม่ “ เบิ้ล “ เอาเท่าไร
ถ้า ไม่อยากให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็ว ก็อย่าเร่งเครื่อง หรือ “ เบิ้ล” น้ำมันโดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ขณะจอดอยู่เฉย ๆ เปลี่ยนเกียร์ หรือก่อนดับเครื่องยนต์ จะช่วยให้ไม่สิ้นเปลืองน้ำมันอย่างสูญเปล่าอีก 20 บาท ต่อเดือน

มองล่วงหน้า รักษาเบรก
เตรียม ตัวล่วงหน้าเมื่อจะถึงสี่แยก สัญญาณไฟ หรือป้ายสัญญาณ ช่วยให้ไม่ต้องเบรกอย่างพร่ำเพรื่อ และรุนแรง หรือเสี่ยงการเปลี่ยนช่องทางวิ่งบ่อย ๆ ซึ่งอาจทำใต้องเร่งเครื่องอย่างเร็ว และหยุดอย่างกระทันหัน จะเป็นการประหยัดน้ำมัน และรักษาผ้าเบรก จานเบรกไว้ใช้กันตอปาน ๆ

ยางอ่อน
การ สูบลมยางให้เหมาะสมนอกจากจะประหยัด น้ำมันแล้ว ยังทำให้อายุยางยืนยาวขึ้นด้วย ลมยางที่อ่อนไปเพียง 4 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ในช่วง 10 วัน ที่ละเลยจะทำให้เปลืองน้ำมัน เพิ่มขึ้นถึง 125 บาท

คาร์บูเรเตอร์สกปรก
ไม่มีใครชอบความสกปรก แม้แต่รถ หากใช้รถโดยที่คาร์บูเรเตอร์สกปรกเพียง 10 วัน จะเสียเงินค่าน้ำมันส่วนเกินอีก 210 บาท ไปฟรี ๆ

หัวเทียนบอด
หาก หัวเทียนบอด หรือเสื่อมคุณภาพ รถยนต์จะวิ่งได้ระยะทางน้อยลง 0.85 กิโลเมตรต่อน้ำมัน 1 ลิตร ใน 10 วัน คิดเป็นน้ำมันสูญเสียประมาณ 125 บาท

ไส้กรองอากาศอุดตัน
ดูแล ความสะอาดไส้กรองอากาศบ่อย ๆ และหากมีสิ่งอุดตันมาก ก็สมควรเปลี่ยนใหม่ ได้แล้วอย่าเหนียว ทั้งนี้เพราะไส้กรองอากาศ ที่อุดตันใน 1 เดือน จะทำให้รถสิ้นเปลือง น้ำมันประมาณ 210 บาท

เบรกเสื่อม
ระบบ เบรกก็ควรได้รับการตรวจสอบดูแลด้วยเหมือนกัน หากผ้าเบรกเสียดสีจานล้ออยู่เสมอ ( เบรกติด หรือเบรกตาย หรือตั้งระยะไม่ถูกต้อง) จะเป็นผลให้ต้องใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ประมาณ 85 บาท ต่อเดือน

น้ำมันเครื่องหมดอายุ
น้ำมัน เครื่อง เป็นเรื่องสำคัญของการบำรุงรักษารถ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และไส้กรอง น้ำมันเครื่องตามกำหนด เลือกใช้น้ำมันเครื่องเกรดให้ถูกต้องกับสภาพเครื่องยนต์ จะลดแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้มากขึ้นด้วย

แก็สโซฮอล์ 95
“ แก็สโซฮอล์ พลังงานแอการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน” พึ่งพาตัวเองทางเศรษฐกิจ : สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตทางการเกษตร ทดแทนการนำเข้าสาร MTBE ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น พึ่งพาตนเองด้านพลังงาน: เป็นพลังงานทดแทนบางส่วน จากเดิมที่ต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศเพื่อนำเข้าน้ำมัน เชื้อเพลิงทั้งหมด พึ่งพาตนเองทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม : ลดการเกิด มลภาวะจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยให้คนไทย เผชิญกับมลภาวะน้อยลง มีสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตดีขึ้น